ศูนย์อำนวยการจิตอาสาภัยพิบัติ ภาค 3 ( ไฟป่า หมอกควัน ) บูรณาการประสานงานร่วมกับ ศูนย์อำนวยการป้องกันและแก้ไขปัญหาไฟป่าหมอกควันและฝุ่นละอองภาค 3 ส่วนหน้า กองทัพภาคที่ 3 กรมฝนหลวงและการบินเกษตร กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย และกองทัพอากาศ สนับสนุนอากาศยานและกำลังพลภาคพื้นดิน ปฏิบัติภารกิจทิ้งน้ำดับไฟป่า พร้อมบินลาดตระเวนสำรวจไฟป่า ในพื้นที่ภาคเหนือ
วันที่ 29 มีนาคม 2568 ศูนย์อำนวยการจิตอาสาภัยพิบัติ ภาค 3 ( ไฟป่า หมอกควัน ) บูรณาการประสานงานร่วมกับ ศูนย์อำนวยการป้องกันและแก้ไขปัญหาไฟป่าหมอกควันและฝุ่นละอองภาค 3 ส่วนหน้า กองทัพภาคที่ 3 กรมฝนหลวงและการบินเกษตร โดยหน่วยดัดแปรสภาพอากาศเพื่อบรรเทาปัญหาฝุ่นละอองขนาดเล็ก(PM2.5) จังหวัดเชียงใหม่ จังหวัดแพร่ และจังหวัดพิษณุโลก สนับสนุนอากาศยาน ปฏิบัติภารกิจบรรเทาหมอกควันและสถานการณ์ฝุ่นละอองขนาดเล็ก (PM2.5) ให้กับ ศอ.ปกป.ภาค 3 ในพื้นที่ประสบปัญหาหมอกควันและฝุ่นละอองขนาดเล็ก (PM2.5) บริเวณพื้นที่ประสบปัญหาหมอกควันและฝุ่นละอองขนาดเล็ก (PM2.5) พื้น จ.เชียงใหม่ จ.ลำพูน จ.ลำปาง และ จ.ตาก ใช้ CN จำนวน 2 ลำ CARAVAN จำนวน 3 ลำ และ CASA จำนวน 2 ลำ (รวม 12 เที่ยวบิน) โดยมีการปฏิบัติ
▶️ปฏิบัติการบินที่ 1 โดยเครื่องบิน CARAVAN จำนวน 1 ลำ รวม 1 เที่ยวบิน โดยสารฝนหลวงสูตร 3 จำนวน 700 กก. ความสูง 8,000 ฟุต บริเวณ อ.ดอยเต่า จ.เชียงใหม่
▶️ปฏิบัติการบินที่ 2 โดยเครื่องบิน CARAVAN จำนวน 1 ลำ รวม 1 เที่ยวบิน โดยสารฝนหลวงสูตร 3 จำนวน 700 กก. ความสูง 8,000 ฟุต บริเวณ อ.เสริมงาม จ.ลำปาง
▶️ ปฏิบัติการบินที่ 3 โดยเครื่องบิน CN จำนวน 1 ลำ รวม 1 เที่ยวบิน โดยใช้น้ำปรับลดอุณหภูมิ จำนวน 2,000 ลิตร ความสูง 8,000 ฟุต บริเวณ บริเวณ อ.ฮอด จ.เชียงใหม่
▶️ ปฏิบัติการบินที่ 4 โดยเครื่องบิน Casa จำนวน 1 ลำ รวม 1 เที่ยวบิน โดยใช้น้ำปรับลดอุณหภูมิ จำนวน 1,000 ลิตร ความสูง 8,000 ฟุต บริเวณ บริเวณ อ.เมืองปาน จ.ลำปาง
▶️ ปฏิบัติการบินที่ 5 โดยเครื่องบิน CN จำนวน 1 ลำ รวม 1 เที่ยวบิน โดยใช้น้ำปรับลดอุณหภูมิ จำนวน 2,000 ลิตร ความสูง 8,500 ฟุต บริเวณ บริเวณ อ.ฮอด จ.เชียงใหม่
▶️ ปฏิบัติการบินที่ 6 โดยเครื่องบิน CARAVAN จำนวน 1 ลำ รวม 1 เที่ยวบิน โดยสารฝนหลวงสูตร 3 จำนวน 700 กก. ความสูง 8,500 ฟุต บริเวณ อ.ดอยเต่า จ.เชียงใหม่
▶️ ปฏิบัติการบินที่ 7 โดยเครื่องบิน Casa จำนวน 1 ลำ รวม 1 เที่ยวบิน โดยใช้น้ำปรับลดอุณหภูมิ จำนวน 1,000 ลิตร ความสูง 8,500 ฟุต บริเวณ บริเวณ อ.เมืองปาน จ.ลำปาง
▶️ ปฏิบัติการบินที่ 8 โดยเครื่องบิน Casa จำนวน 1 ลำ รวม 1 เที่ยวบิน โดยใช้น้ำปรับลดอุณหภูมิ จำนวน 1,000 ลิตร ความสูง 8,500 ฟุต บริเวณ บริเวณ อ.บ้านตาก จ.ตาก
▶️ ปฏิบัติการบินที่ 9 โดยเครื่องบิน CARAVAN จำนวน 2 ลำ รวม 2 เที่ยวบิน โดยสารฝนหลวงสูตร 3 จำนวน 1,400 กก. ความสูง 8,500 ฟุต บริเวณ อ.ดอยหล่อ จ.เชียงใหม่
▶️ ปฏิบัติการบินที่ 10 โดยเครื่องบิน Caravan จำนวน 1 ลำ รวม 1 เที่ยวบิน โดยใช้สารฝนหลวงสูตร 3 จำนวน 700 กก. ความสูง 5,200 ฟุต บริเวณ อ.แม่ออน จ.เชียงใหม่
▶️ ปฏิบัติการบินที่ 11 โดยเครื่องบิน CN จำนวน 1 ลำ รวม 1 เที่ยวบิน โดยใช้น้ำปรับลดอุณหภูมิ จำนวน 2,000 ลิตร ความสูง 3,700 ฟุต บริเวณ อ.ดอยสะเก็ด - อ.เมืองเชียงใหม่ จ.เชียงใหม่
โดยพบว่าค่า PM2.5 ในสถานีเป้าหมายมีแนวโน้มลดลง ต่อมา ศูนย์อำนวยการป้องกันและแก้ไขปัญหาไฟป่าหมอกควันและฝุ่นละอองภาค 3 ส่วนหน้า กองทัพภาคที่ 3 ร่วมกับ กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย สนับสนุนอากาศยาน KA-32-01 ปฏิบัติภารกิจขึ้นบินลาดตระเวนค้นหา บรรเทาหมอกควันและสถานการณ์ฝุ่นละอองขนาดเล็ก (PM2.5) ส่วนสนับสนุนการปฏิบัติการบินควบคุมในพื้นที่เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าอมก๋อย บริเวณป่าห้วยป่าเลา ดอยแบจอ และห้วยช้างร้อง ในท้องที่ อำเภออมดอยเต่า จังหวัดเชียงใหม่ เขตเชื่อมต่อท้องที่อำเภอสามเงา จังหวัดตาก ให้กับ ศูนย์อำนวยการป้องกันและแก้ไขปัญหาไฟป่าหมอกควันและฝุ่นละอองภาค 3 ส่วนหน้า ในการเเก้ไขปัญหาไฟป่าหมอกควัน ฯ โดย KA-32-01 ณ จุดจอดเฮลิคอปเตอร์ บริเวณโรงเรียนก๊อจัดสรร , จุดความร้อนบริเวณพื้นที่ป่าห้วยป่าเลา ดอยแบจอ และห้วยช้างร้อง ในท้องที่ อำเภออมดอยเต่า จังหวัดเชียงใหม่ เขตเชื่อมต่อท้องที่อำเภอสามเงา จังหวัดตาก และ จุดเติมน้ำบริเวณแม่น้ำปิง - จุดจอดเฮลิคอปเตอร์ เขื่อนภูมิพล เพื่อเติม เชื้อเพลิง (มณฑลทหารบกที่ 310) -จุดความร้อนบริเวณพื้นที่ป่าห้วยป่าเลา ดอยแบจอ และห้วยช้างร้อง ในท้องที่ อำเภออมก๋อย จังหวัดเชียงใหม่ เขตเชื่อมต่อท้องที่อำเภอสามเงา จังหวัดตาก และ จุดเติมน้ำบริเวณแม่น้ำปิง - ซึ่ง กองพลทหารราบที่ 7 จังหวัดเชียงใหม่ ร่วมกับ นายครินทร์ หิรัญไกรลาส ทำหน้าที่หัวหน้าเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าอมก๋อย และ นายวรัญญ นนทศิริ พนักงานราชการ นักวิชาการป่าไม้ โดยได้ปฏิบัติภารกิจ: ทิ้งน้ำจำนวน 2 รอบ จำนวนน้ำ 6,000 ลิตร จากนั้น ศูนย์อำนวยการป้องกันและแก้ไขปัญหาไฟป่าหมอกควันและฝุ่นละอองภาค 3 ส่วนหน้า กองทัพภาคที่ 3 สนับสนุน เฮลิคอปเตอร์ ฮ.ท.17 ของ กองทัพบก โดย กองทัพภาคที่ 3 ปฏิบัติภารกิจสนับสนุนการปฏิบัติภารกิจแก้ไขปัญหาไฟป่าหมอกควันและฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM 2.5 ให้กับ ศอ.ปกป.ภาค 3 ปฏิบัติการดับไฟป่าในพื้นที่ป่าอุทยานแห่งชาติออบหลวง บริเวณ หมู่ที่ 8 บ้านตีนตก ตำบลคอเรือ อำเภอฮอต จังหวัดเชียงใหม่ จุดจอดอากาศยานชั่วคราวบริเวณบ้านแม่ลอง จุดความร้อน 18 จุด บริเวณหมู่ที่ 8 บ้านตีนตก ตำบลคอเรือ อำเภอฮอต จังหวัดเชียงใหม่ และ จุดเติมน้ำบริเวณพิกัดแหล่งน้ำอ่างเก็บน้ำวังลุงใหม่ หมู่ที่ 1 ตำบลหางดง อำเภอฮอต จังหวัดเชียงใหม่ และ น้ำพุร้อนเทพพนม ร่วมกับ นางสาวนิภาพร ไพศาล หัวหน้าอุทยานแห่งชาติออบหลวง และ ว่าที่ร้อยตรี บัญชาชาย จันทร์เป็ง ปลัดอำเภอฮอต โดยได้ปฏิบัติภารกิจ: ทิ้งน้ำจำนวน 3 รอบ จำนวนน้ำ 10,500 ลิตร และ ศูนย์อำนวยการป้องกันและแก้ไขปัญหาไฟป่าหมอกควันและฝุ่นละอองภาค 3 ส่วนหน้า กองทัพภาคที่ 3 ร่วมกับ กองทัพอากาศ จากหน่วยบิน 5011 ฝูงบิน 501 กองบิน 5 จว.ประจวบคีรีขันธ์ อากาศยานแบบ บ.จธ.2 (AU-23A) พร้อมติดตั้งกล้องตรวจจับความร้อน FLIR STAR SAFIRE 380HD(HD-EO IR) ที่มีขีดความสามารถสูงในการตรวจจับความร้อน และกลุ่มควันไฟได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทำการบินลาดตระเวนค้นหากลุ่มจุดความร้อนในพื้นที่ภาคเหนือโดยตั้งฐานปฏิบัติการที่กองบิน 41 จว.เชียงใหม่ ภารกิจบินลาดตระเวนค้นหากลุ่มจุดความร้อน สนับสนุนการปฏิบัติภารกิจแก้ไขปัญหาไฟป่าหมอกควัน และฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM 2.5 ในพื้นที่ 17 จังหวัดภาคเหนือร่วมกับกองทัพภาคที่ 3 เวลาและเส้นทางบิน กองบิน 41 - อ.ดอยเต่า อ.ฮอต อ.แม่แจ่ม และ อ.แม่วาง - กองบิน 41 ผลการปฎิบัติ สามารถถ่ายทอดสัญญาณ VDL ได้ 80% (เป้าหมายที่เป็นภูเขาสูง ไม่สามารถรับสัญญาณ VDL ได้ และ พบจุดความร้อนในพื้นที่เป้าหมายจำนวน 7 จุด รวมเวลาปฏิบัติภารกิจ 1.5 ชั่วโมง
ภาพข่าว- วีดีโอ
-ศูนย์ประชาสัมพันธ์กองทัพภาคที่ 3 ธีรพงศ์ นาคแนม (นกพิราบศูนย์ข่าว
จังหวัดพิจิตร) โทร 0831671688 รายงาน**
คนรู้จักพัก ทว่าไม่รู้จักพอ ** จิตอาสาพัฒนา
เราทำความดีด้วยหัวใจ....ร่วมใจกันพัฒนา
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น