วันพฤหัสบดีที่ 9 มกราคม พ.ศ. 2568

จังหวัดกาฬสินธุ์ร่วมกับสมาคมเมตตาธรรมทิพยสถาน “เต็กก่า” จีโหงวเกาะหน่วยกู้ภัยเมตตาธรรมกาฬสินธุ์ สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ สำนักงานสาธารณสุข บริษัทกลางคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ มูลนิธิ หน่วยงานภาคีเครือข่ายด้านการแพทย์ฉุกเฉิน และภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง แถลงข่าวเตรียมความพร้อมเป็นเจ้าภาพประชุมวิชาการการแพทย์ฉุกเฉินระดับชาติ ในองค์กรเอกชนที่ไม่แสวงหากำไร ครั้งที่ 7 “รวมพลังกู้ชีพ กู้ภัย จิตอาสาไทยใจเป็นหนึ่งเดียว” วันที่ 25 มกราคม 2568 ที่เขื่อนลำปาว จังหวัดกาฬสินธุ์


จังหวัดกาฬสินธุ์ร่วมกับสมาคมเมตตาธรรมทิพยสถาน “เต็กก่า” จีโหงวเกาะหน่วยกู้ภัยเมตตาธรรมกาฬสินธุ์ สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ สำนักงานสาธารณสุข บริษัทกลางคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ มูลนิธิ หน่วยงานภาคีเครือข่ายด้านการแพทย์ฉุกเฉิน และภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง แถลงข่าวเตรียมความพร้อมเป็นเจ้าภาพประชุมวิชาการการแพทย์ฉุกเฉินระดับชาติ ในองค์กรเอกชนที่ไม่แสวงหากำไร ครั้งที่ 7 “รวมพลังกู้ชีพ กู้ภัย จิตอาสาไทยใจเป็นหนึ่งเดียว” วันที่ 25 มกราคม 2568 ที่เขื่อนลำปาว จังหวัดกาฬสินธุ์

วันที่ 8 มกราคม 2568 ที่ห้องประชุมศาลาร่มโพธิ์ โครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาลำปาว หรือเขื่อนลำปาว นายรุจติศักดิ์ รังษี รอง ผวจ.กาฬสินธุ์ เป็นประธานประชุมคณะกรรมการจัดประชุมวิชาการการแพทย์ฉุกเฉินระดับชาติ ในองค์กรภาคเอกชนที่ไม่แสวงหากำไร ครั้งที่ 7 “รวมพลังกู้ชีพ กู้ภัย จิตอาสาไทยใจเป็นหนึ่งเดียว”ครั้งที่ 2/2568 และเป็นประธานการแถลงข่าวเตรียมความพร้อมการประชุมฯ โดยมีดร.พิเชษฐ์ หนองช้าง รองเลขาธิการสถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ ดร.สม นาสอ้าน รองนายแพทย์สาธารณสุข จ.กาฬสินธุ์ นายเก่งกาจ บ้งกาวงศ์ นายกสมาคมเมตตาธรรมทิพยสถาน “เต็กก่า” จีโหงวเกาะ (หน่วยกู้ภัยเมตตาธรรมกาฬสินธุ์) นายสมชาย สุดเสนาะ บริษัทกลางคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ จำกัด มูลนิธิร่วมกตัญญู สำนักงานใหญ่ มูลนิธิฮุก 31 นครราชสีมา ซึ่งเป็นองค์กรการกุศลที่ไม่แสวงหากำไร และมีบทบาทด้านการแพทย์ฉุกเฉินทั่วประเทศ และหน่วยงานภาคีเครือข่ายด้านการแพทย์ฉุกเฉิน ร่วมประชุมอย่างพร้อมเพรียง นายรุจติศักดิ์ รังษี รอง ผวจ.กาฬสินธุ์ กล่าวว่าการปฏิบัติงานในระบบการแพทย์ฉุกเฉินของผู้ปฏิบัติการด้านการแพทย์ฉุกเฉิน เจ้าหน้าที่กู้ชีพ กู้ภัยและจิตอาสานับเป็นเรื่องที่สำคัญยิ่งเพราะเป็นการช่วยชีวิตเพื่อนมนุษย์ที่มีการเจ็บป่วยฉุกเฉิน หากให้การช่วยเหลือไม่ถูกต้อง รวมทั้งการนำส่งผู้ป่วยไปรับการรักษาที่โรงพยาบาลช้าเกินไป จะเป็นปัจจัยหลักที่ส่งผลให้เกิดความพิการและเสียชีวิตของผู้ป่วยในอัตราที่สูง นายรุจติศักดิ์ กล่าวอีกว่า ในประเทศไทย มีองค์กรการกุศลที่ไม่แสวงหากำไร ที่มีบทบาทด้านการแพทย์ฉุกเฉินอยู่เป็นจำนวนมาก มีสมาชิกที่เป็นผู้ปฏิบัติการในระบบการแพทย์ฉุกเฉินอยู่หลายระดับ มีการปฏิบัติงานทั้งการกู้ชีพ กู้ภัย เมื่อมีภัยพิบัติหรือสาธารณภัยเกิดขึ้น ทำให้สามารถเข้าถึงสถานที่เกิดเหตุได้อย่างรวดเร็ว หากมีการพัฒนาเครือข่ายองค์กรต่างๆ ให้มีความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน จะเป็นพลังที่ยิ่งใหญ่ในการขับเคลื่อนประเทศ สามารถช่วยเหลือผู้ประสบภัยได้อย่างรวดเร็ว มีคุณภาพและประสิทธิภาพในระดับสากล รวมทั้งยังเป็นกำลังสำคัญของการปฏิบัติงานช่วยเหลือภาครัฐ ภาคเอกชน และหน่วยงานต่างๆ ที่ขอรับการสนับสนุน ดังนั้นจึงมีความจำเป็นต้องพัฒนาให้เกิดความร่วมมือระหว่างองค์กรการกุศลที่ไม่แสวงหาผลกำไร ที่มีบทบาทด้านการแพทย์ฉุกเฉิน ให้มีการพัฒนาศักยภาพของผู้ปฏิบัติงานกู้ชีพ กู้ภัย มีเวทีในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เพื่อให้เกิดความสามัคคีเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน พร้อมที่จะช่วยเหลือผู้ประสบภัยที่เจ็บป่วยฉุกเฉินได้อย่างทันท่วงที ด้านดร.พิเชษฐ์ หนองช้าง รองเลขาธิการสถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ กล่าวว่า เพื่อเพิ่มศักยภาพบุคลากรด้านการแพทย์ฉุกเฉิน รวมทั้งทีมกู้ชีพ กู้ภัย ทุกภาคส่วนจึงร่วมกัน ทั้งจ.กาฬสินธุ์ สมาคมเมตตาธรรมทิพยสถาน “เต็กก่า” จีโหงวเกาะ (หน่วยกู้ภัยเมตตาธรรมกาฬสินธุ์) สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ บริษัทกลางคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ จำกัด มูลนิธิร่วมกตัญญู สำนักงานใหญ่ มูลนิธิฮุก 31 นครราชสีมา แถลงข่าวเตรียมความพร้อมเป็นเจ้าภาพประชุมวิชาการการแพทย์ฉุกเฉินระดับชาติ ในองค์กรเอกชนที่ไม่แสวงหากำไร ครั้งที่ 7 ในวันที่ 25 มกราคม 2568 ที่จะถึงนี้ที่เขื่อนลำปาว จ.กาฬสินธุ์

ขณะที่นายเก่งกาจ บ้งกาวงศ์ นายกสมาคมเมตตาธรรมทิพยสถาน “เต็กก่า” จีโหงวเกาะ (หน่วยกู้ภัยเมตตาธรรมกาฬสินธุ์) กล่าวว่า โครงการนี้จะเกิดประโยชน์ ในส่วนของการทำงานจิตอาสา แสดงให้เห็นความตั้งใจของคนทำงาน ที่ถือเป็นการรวมพลคนกู้ภัยระดับประเทศ ซึ่งเป็นบุคคลผู้เสียสละ อดทน น่ายกย่อง ซึ่ง จ.กาฬสินธุ์ รู้สึกเป็นเกียรติอย่างยิ่งที่ได้มีโอกาสเป็นเจ้าภาพจัดงานประชุมวิชาการการแพทย์ฉุกเฉินระดับชาติ ในองค์กรเอกชนที่ไม่แสวงหากำไร ซึ่งนับว่าเป็นโอกาสที่ยากมากที่ทางจังหวัดจะมีโอกาสในการเป็นเจ้าภาพจัดงานในรูปแบบนี้ เพื่อจัดให้มีเวทีระดับชาติสำหรับการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างเครือข่ายกู้ชีพ กู้ภัยขององค์กรการกุศลที่ไม่แสวงหาผลกำไร ส่งเสริมและสนับสนุนการพัฒนาศักยภาพของผู้ปฏิบัติการด้านการแพทย์ฉุกเฉินขององค์กรการกุศลที่ไม่แสวงหาผลกำไรกว่า 450 แห่ง โดยคาดว่ามีผู้เข้าร่วมประชุมในครั้งนี้ประมาณ 2,000 คนจากทั่วประเทศ โดยจะร่วมทำการฝึกอบรมทั้งทางน้ำ ทางบก ทางอากาศ เพื่อเพิ่มองค์ความรู้ บุคลากร และทีมกู้ชีพ กู้ภัย ให้มีขีดความสามารถในการช่วยเหลือพี่น้องประชาชน ผู้ประสบเหตุและสาธารณภัยอื่นๆต่อไป

อย่างไรก็ตามงานนี้มีความพร้อมทุกด้าน ในการเป็นเจ้าภาพที่ดีในการต้อนรับบุคลากรทางการแพทย์ฉุกเฉิน ทีมกู้ชีพ กู้ภัย ที่จะเดินทางมาร่วมประชุมวิชาการการการแพทย์ฉุกเฉินระดับชาติ ในองค์กรภาคเอกชนที่ไม่แสวงหากำไร ครั้งที่ 7 ครั้งที่ 2/2568 นี้ ทั้งที่พัก การรักษาความปลอดภัย การจราจร ทีมปฐมพยาบาล นอกจากนี้ ยังมีแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญไว้คอยต้อนรับ ซึ่งผู้ที่มาร่วมประชุมวิชาการการแพทย์ฉุกเฉินระดับชาติ ในองค์กรเอกชนที่ไม่แสวงหากำไร ครั้งที่ 7 “รวมพลังกู้ชีพ กู้ภัย จิตอาสาไทยใจเป็นหนึ่งเดียว”ในครั้งนี้ จะได้พบความสุข ความประทับใจ ได้ความรู้กลับไป จึงขอเชิญชวนอง์กร มูลนิธิ กู้ชีพ กู้ภัยอื่นๆ ได้ลงทะเบียนสมัครร่วมโครงการนี้ร่วมกัน 























ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

AEC...แม่สอด= ยุทธการล้างเมือง มุ่งจีนเทา และต่างชาติ ระดมสรรพกำลังกว่า 300 นาย ค้น 131 จุด พบหนังสือเดินทางหมดอายุเพียบ

AEC...แม่สอด= ยุทธการล้างเมือง มุ่งจีนเทา และต่างชาติ ระดมสรรพกำลังกว่า 300 นาย ค้น 131 จุด พบหนังสือเดินทางหมดอายุเพียบ  เมื่อวันที่ 22 มกร...