อพท.สุโขทัย ยกระดับความสัมพันธ์และบทบาทของเมืองสร้างสรรค์สุโขทัย จัดกิจกรรมการเสวนาและการประชุมเครือข่ายเมืองสร้างสรรค์ของยูเนสโก
วันพุธที่ ๑๓ มีนาคม ๒๕๖๗ เวลา ๐๘.๓๐ น. นาวาอากาศเอก อธิคุณ คงมี ผู้อำนวยการ อพท. มอบหมายให้ ดร.ชุมพล มุสิกานนท์ รองผู้อำนวยการ อพท.(๒) เป็นผู้แทนในการเปิดกิจกรรมการเสวนาและการประชุมเครือข่ายเมืองสร้างสรรค์ของยูเนสโก ในหัวข้อ “Soft Power of Culture for Sustainability” และหัวข้อ “UCCN Next Step จากคุณค่าทางวัฒนธรรมสู่การยกระดับผ้าไทย Soft power ด้านแฟชั่นเชื่อมโยงนานาชาติ” พร้อมด้วย พันเอก นาวิน ปรีชาพณิชยกุล ผจก.อพท.สุโขทัย โดยมี นายสุชาติ ทีคะสุข ผู้ว่าราชการจังหวัดสุโขทัย เป็นประธานฯ ทั้งนี้ มีผู้แทนเมืองสร้างสรรค์ อาทิ ดร.สมจินต์ ชาญกระบี่ ผู้จัดการสำนักงานพื้นที่พิเศษอู่ รองศาสตรจารย์ ดร.วิติยา ปิดตังนาโพธิ์ รองคณบดีฝ่ายวิชาการและวิจัยมหาวิทยาลัยนเรศวร และการบรรยายพิเศษโดย รศ.ดร.ดนัย เรียบสกุล ณ โรงเเรมสุโขทัย เฮอริเทจ รีสอร์ท ดร.ชุมพล มุสิกานนท์ รองผู้อำนวยการ อพท. กล่าวว่า สุโขทัยเป็นสมาชิกเครือข่ายเมืองสร้างสรรค์ อพท.สุโขทัย ในฐานะหน่วยงานร่วมขับเคลื่อนการท่องเที่ยวในพื้นที่จังหวัดสุโขทัย มีภารกิจหลักในการประสาน ส่งเสริม สนับสนุน ทั้งหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน ชุมชน ซึ่งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะร่วมกันบูรณาการตามพันธกิจของการเป็นสมาชิก ดังนี้ เพื่อขับเคลื่อนและยกระดับการพัฒนาเมืองสุโขทัย ภายใต้การเป็นสมาชิกเครือข่ายเมืองสร้างสรรค์ของยูเนสโก (UNESCO Creative Cities Network - UCCN) และแลกเปลี่ยนเรียนรู้การพัฒนาและเชื่อมโยงความร่วมมือเครือข่ายเมืองสร้างสรรค์ทั้งภายในและภายนอกประเทศ จึงได้จัดเสวนาและประชุมจำนวน ๓ หัวข้อ ได้แก่
๑)Soft Power of Culture for Sustainability
๒)UCCN Next Step จากคุณค่าทางวัฒนธรรมสู่การยกระดับผ้าไทย Soft power ด้านแฟชั่นเชื่อมโยงนานาชาติ
๓)UCCN Next Steps , Guidelines for linking Cooperation. in UNESCO creative Cities Network both domestically and abroad แนวทางการส่งเสริมความร่วมมือเครือข่ายเมืองสร้างสรรค์ของยูเนสโกทั้งในประเทศและต่างประเทศประกอบไปด้วย ผู้แทนเครือข่ายเมืองสร้างสรรค์ของยูเนสโกจากต่างประเทศ โดยมีรูปแบบในการจัดกิจกรรมเสวนา ดังนี้
๑) การเสวนาระดับประเทศประเด็น “Soft Power of Culture for Sustainability”
โดยวิทยากรบรรยายพิเศษ ได้แก่
๑.๑ ดร.ชุมพล มุสิกานนท์ รองผู้อำนวยการองค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (องค์การมหาชน)
๑.๒ รองศาสตรจารย์ ดร.วิติยา ปิดตังนาโพธิ์ รองคณบดีฝ่ายวิชาการและวิจัย
คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร ผู้เชี่ยวชาญด้านการขับเคลื่อนเครือข่ายเมืองสร้างสรรค์ (UCCN) และเป็น Co-Focal Point เมืองสร้างสรรค์สุโขทัย
๑.๓ คุณฐิติวัชร ไลศิริพันธุ์ ผู้อำนวยการส่วนการศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม/
ผู้แทนเครือข่ายเมืองสร้างสรรค์จากจังหวัดเชียงราย
๑.๔ ดร.สมจินต์ ชาญกระบี่ ผู้จัดการสำนักงานพื้นที่พิเศษอู่ทอง
๑.๕ คุณสมยศ ปาทาน ผู้แทนเครือข่ายเมืองสร้างสรรค์จากจังหวัดภูเก็ต
๑.๖ คุณยุจเรศ สมนา ศิลปินและเจ้าของกิจการเพื่อสังคม "เดอะคัว"ผู้แทนเครือข่ายเมืองสร้างสรรค์จากจังหวัดเชียงใหม่
๑.๗ ผู้แทนเครือข่ายเมืองสร้างสรรค์จากจังหวัดเพชรบุรี
๑.๘ ผู้เชี่ยวชาญ/ผู้แทนจากสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์
๒) การบรรยายพิเศษโดย รศ.ดร.ดนัย เรียบสกุล ในหัวข้อ “UCCN Next Step” จากคุณค่าทางวัฒนธรรมสู่การยกระดับผ้าไทย Soft power ด้านแฟชั่นเชื่อมโยงนานาชาติ
๓) การประชุมสัมมนาในหัวข้อ “UCCN Next Steps , Guidelines for linking Cooperation. in UNESCO creative Cities Network both domestically and abroad แนวทางการส่งเสริมความร่วมมือเครือข่ายเมืองสร้างสรรค์ของยูเนสโกทั้งในประเทศและต่างประเทศประกอบไปด้วย ผู้แทนเครือข่ายเมืองสร้างสรรค์ของยูเนสโกจากต่างประเทศ จำนวน ๕ ท่าน ดังนี้
- Prof.Byung Hoon Jeong, Ph.D. Deputy Coordinator of UCCN For
Crafts and Folk Art, Focal Point of Jinju (Republic of Korea)
- Tara Poole Coordinator Creative City Ballarat, Australia
- Dr.Pham Thi Lan Anh Focal Point of Hanoi UCCN
- Dr.Lu Thi Thanh Le (Vietnam National University, Hanoi) Vietnam
- Pingping Tan Co-Focal Point (Weifang, china)
- Schrempf Eberhard Director of Creative Industries Styria Network
Managing Director of the Creative Industries in Graz, Austria
พันเอก นาวิน ปรีชาพณิชยกุล ผจก.อพท.สุโขทัย กล่าวว่า กิจกรรมในครั้งนี้ ผู้เข้าร่วมการประชุมเสวนา จำนวน ๑๐๐ คน ประกอบด้วย หน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชนคณะทำงานขับเคลื่อนสุโขทัยเมืองสร้างสรรค์ ชุมชนท้องถิ่น และผู้ประกอบการงานหัตถกรรมและศิลปะพื้นบ้านที่เกี่ยวข้อง จึงเป็นทั้งโอกาสและความท้าทายสำหรับจังหวัดสุโขทัยในขับเคลื่อนและพัฒนากิจกรรมทางวัฒนธรรมเชิงสร้างสรรค์ ภายใต้การบรูณาการมรดกวัฒนธรรมและนวัตกรรมที่เหมาะสม ควบคู่ไปกับเป้าหมายการพัฒนาเมืองสุโขทัยอย่างยั่งยืนในระยะยาว การพัฒนาเมืองสร้างสรรค์สุโขทัย ไม่ใช่เรื่องของการปรับปรุงหรือพัฒนาเมืองเชิงกายภาพ เพื่อรองรับการท่องเที่ยวมรดกโลก หรือการมุ่งเน้นพัฒนาผลิตภัณฑ์ชุมชนแต่เพียงมิติเดียว แต่กรอบการพัฒนาเมืองสร้างสรรค์เป็นกลยุทธ์และกลไกสำคัญสาหรับการพัฒนาเมืองอย่างยั่งยืนแบบองค์รวม โดยการส่งเสริมกิจกรรมทางวัฒนธรรมเชิงสร้างสรรค์ เพื่อเปิดโอกาสให้ทุกคนได้เข้าถึงงานที่ เข้าถึงการสร้างรายได้ การเข้าถึงพื้นที่ทางเศรษฐกิจ ความเท่าเทียมทางสังคม เพื่อพัฒนาศักยภาพและขีดความสามารถของบุคลากรรองรับอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ สำหรับนักคิด นักออกแบบ นักวางแผน นักการตลาด ผู้ประกอบการ เพื่อยกระดับคุณภาพงานหัตถกรรม และผลิตภัณฑ์ศิลปะพื้นบ้านที่สะท้อนอัตลักษณ์ความเป็นสุโขทัย นำไปสู่การยกระดับคุณภาพชีวิตของคนสุโขทัยอย่างแท้จริง
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น