วันศุกร์ที่ 19 มกราคม พ.ศ. 2567


กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในจังหวัดตาก ประสานความร่วมมือ  สถานีควบคุมไฟป่าแม่ตื่นสำนักงานบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 14 อุทยานแห่งชาติแม่ปิง  สำรวจและตรวจปริมาณเชื้อเพลิงในพื้นที่เหนือเขื่อนภูมิพล  วางแผนจัดการเชื้อเพลิงป้องกันไฟป่า

เมื่อวันที่ 17 มกราคม 2567 กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในจังหวัดตาก ประสานการปฏิบัติกับสถานีควบคุมไฟป่าแม่ตื่น สำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 14 (ตาก) ได้บินสำรวจจุดขึ้น-ลง และตรวจปริมาณเชื้อเพลิงในพื้นที่เหนือเขื่อนภูมิพล โดย หัวหน้าสถานีควบคุมไฟป่าแม่ตื่น พร้อมด้วย ผู้อำนวยการส่วนควบคุมและปฏิบัติการไฟป่า หัวหน้าเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าแม่ตื่น  ผู้แทน  อุทยานแห่งชาติแม่ปิง, เจ้าหน้าที่กรมป่าไม้ ร่วมกับ  เจ้าหน้าที่ศูนย์ปฏิบัติการพื้นที่ภาคกลาง ของกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ร่วมกันกำหนดแผนการบินเพื่อบินสำรวจสภาพป่าและปริมาณเชื้อเพลิง พื้นที่รอยต่อ ได้แก่ เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าแม่ตื่น, เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าอมก๋อย  และอุทยานแห่งชาติแม่ปิง (ตาก,เชียงใหม่,ลำพูน) ตลอดจนสำรวจและทดสอบการขึ้นลงอากาศยาน ฐานบินชั่วคราวเพื่อเตรียมความพร้อมการส่งกำลังเจ้าหน้าที่ จำนวน 6 จุด ในพื้นที่เขตรักษาพันธ์สัตว์ป่าแม่ตื่น ผลปฏิบัติการบินในพื้นที่ทำการบินสำรวจ ดังนี้

ผลการสำรวจสภาพป่าแม่ตื่นและพื้นที่ป่าอนุรักษ์รอยต่อ 3 ป่า คือ ป้าเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าแม่ตื่น, เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าอมก๋อย และอุทยานแห่งชาติแม่ปิง (ต.บ้านนา อ.สามเงา จ.ตาก) ชนิดป่าส่วนใหญ่เป็นป่าเต็งรัง ผสมป่าเบญจพรรณ และป่าไผ่  สำรวจปริมาณเชื่อเพลิง (ใบไม้) ผลปรากฎว่า ผืนป่าเขตแม่ตื่น และพื้นที่ข้างเคียงในชนิดป่าเต็งรังต้นไม้มีใบไม้เปลี่ยนสี (เหลือง,ส้ม,แดง) ประมาณ 30-40 % ใกล้ล่วงหล่นลงพื้นดิน บริเวณยอดเขา สูงชัน มีไผ่ขนาดเล็ก ได้ตายขุยเป็นส่วนใหญ่ แต่บริเวณไหล่เขายังคงมีความเขียว ส่วนด้านล่างใบไม้เปลี่ยนสี  เชื้อเพลิงสะสมภาคพื้นดิน มีประมาณ 10% ยังไม่ทับถมต่อเนื่องพอมองเห็นดินดินลูกรัง ลักษณะเช่นนึ้ คาดว่า อีกประมาณ 20 วัน จะมีการทิ้งใบจะเข้าแล้งรอบทึ่ 1 (เปรียบเทียบกับแผนบินรอบที่ผ่านมาเมื่อวันที่ 26 ธันวาคม 2566 ผืนป่าเขียวทั่วพื้นทึ่) ซึ่งสถานีควบคุมไฟป่าแม่ตื่น จะได้วางแผนปัองกัน การบริหารเชื้อเพลิงควบคุมในพื้นทึ่เสึ่ยงต่อไป ทั้งนี้ หน่วยภาคพื้นดิน จะได้ลาดตระะเวนเข้าควบคุมในส่วนที่เกึ่ยวข้องและคาดว่าในปีนี้ต้นไม้อาจมีการทิ้งใบได้หลายรอบ จึงจำเป็นต้องวางแผนเดินลาดตระเวนตรวจตราในพื้นทึ่และประเมินสถานการณ์ อย่างต่อเนื่องต่อไป ณ ปัจจุบันนี้ ดัชนีชี้วัดการเกิดไฟป่า เพิ่มระดับ อยู่ในเกณฑ์ ปานกลาง 









ภาพข่าว- วีดีโอ -ศูนย์ประชาสัมพันธ์กองทัพภาคที่ 3 ธีรพงศ์ นาคแนม (นกพิราบศูนย์ข่าว จังหวัดพิจิตร)  ศูนย์ประสานงานข่าว โทร 0831671688 รายงาน** คนรู้จักพัก ทว่าไม่รู้จักพอ ** จิตอาสาพัฒนา เราทำความดีด้วยหัวใจ....ร่วมใจกันพัฒนา


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น