ทหารพราน 35 จับมือภาครัฐ จิตอาสาภาคประชาชน เดินหน้าฟื้นฟูป่าต้นน้ำ ซ่อมฝาย - ฟื้นฟูป่า ตามโครงการจิตอาสาต้านภัยแล้ง
ความเกื้อกูลต่อกันไม่เพียงสร้างสานสัมพันธ์ที่ดี ยังให้ได้สัมผัสกับความสุขใจ และความภูมิใจที่ช่วยพัฒนาท้องถิ่น กองร้อยทหารพรานที่ 3503 หน่วยเฉพาะกิจกรมทหารพรานที่ 35 จัดกำลังพล ร่วมกับ หน่วยป้องกันรักษาป่าที่ ตก.2 (ขะเนจื้อ) , เจ้าหน้าที่อาสาสมัครประจำพื้นที่พักพิงชั่วคราวบ้านแม่หละ , ผู้นำชุมชนบ้านห้วยแห้ง , คณะครู เด็กนักเรียน ศูนย์การเรียนรู้ชุมชนชาวไทยภูเขาแม่ฟ้าหลวง สาขาบ้านห้วยแห้ง และ ประชาชนจิตอาสา ร่วมดำเนินการซ่อมแซมปรับปรุง ฝายชะลอน้ำที่ชำรุดให้สามารถใช้งานได้ สำหรับการกักเก็บน้ำไว้ใช้ในห้วงฤดูแล้ง ตามโครงการจิตอาสาต้านภัยแล้ง เพื่อเป็นแหล่งน้ำสำหรับอุปโภคของชุมชน , ด้านการเกษตร และเพื่อสร้างความชุ่มชื้นให้กับผืนป่า ณ ลำห้วยบ้านห้วยแห้ง หมู่ที่ 9 บ้านห้วยแห้ง ตำบลขะเนจื้อ อำเภอแม่ระมาด จังหวัดตาก โดยใช้กระสอบทราย จำนวน 1,000 ใบ มีผู้เข้าร่วมกิจกรรม จำนวน 120 คน
ซึ่งการสร้างฝ่ายชะลอน้ำในพื้นที่ครั้งนี้ มีประชาชนบ้านห้วยแห้ง จำนวน 60 หลังคาเรือน และพื้นที่ทำการเกษตร จำนวน 150 ไร่ ได้รับประโยชน์จากการซ่อมแซม/ปรับปรุง ฝายชะลอน้ำบริเวณดังกล่าว
หน่วยเฉพาะกิจกรมทหารพรานที่ 35 เล็งเห็นถึงความสำคัญของการฟื้นฟูป่าต้นน้ำ สร้างความชุ่มชื้นให้กับดินและผืนป่า และได้นำแนวคิดของการสร้างฝายชะลอความชุ่มชื้น หรือฝายต้นน้ำ (CHECK DAM) มาดำเนินโครงการจิตอาสาต้านภัยแล้งในครั้งนี้ เมื่อป่าชุ่มชื้น ความอุดมสมบูรณ์ก็จะกลับคืนมา โดยได้รับความร่วมมือจากพันธมิตรภาครัฐ สถานศึกษา จิตอาสาภาพประชาชน ร่วมใจร่วมแรงในการดำเนินกิจกรรมครั้งนี้ ในการปรับปรุงซ่อมแซมฝายชะลอน้ำที่ชำรุดทรุดโทรมกลับมาสามารถใช้งานได้กักเก็บน้ำชะลอน้ำในฤดูแล้ง เพื่อให้ชาวบ้านได้มีน้ำอุปโภคบริโภค ตลอดจนน้ำใช้เพื่อทำการเกษตรในครัวเรือนได้ตลอดทั้งปีด้วย" หน่วยเฉพาะกิจกรมทหารพรานที่ 35 และจิตอาสาภาคประชาชน มุ่งมั่นประสานความร่วมมือทำความดีและสร้างประโยชน์ให้กับชุมชน เพื่อประโยชน์ของประเทศ ประชาชน ส่งเสริมให้สังคมอยู่ร่วมกันได้อย่างมีความสุขอย่างยั่งยืน
สำหรับ ฝายชะลอความชุ่มชื้น Check Dam คือ สิ่งก่อสร้างขวาง หรือกั้นทางเดินของลำน้ำ ให้สามารถกักตะกอนอยู่ได้ และหากช่วงที่น้ำไหลแรงก็สามารถชะลอการไหลของน้ำให้ช้าลง และกักเก็บตะกอนไม่ให้ไหลลงไปทับถมลำน้ำตอนล่างซึ่งเป็นวิธีการอนุรักษ์ดินและน้ำได้มากวิธีการหนึ่ง ซึ่งฝายต้นน้ำ จะช่วยลดความรุนแรงของการเกิดไฟป่า เนื่องจากการกระจายความชุ่มชื้นมากขึ้น สร้างระบบการควบคุมไฟป่า ด้วยแนวป้องกันไฟป่าเปียก (Wet Fire Break) , ช่วยลดการชะล้างพังทลายของดิน และลดความรุนแรงของกระแสน้ำในลำห้วย ทำให้ระยะเวลาการไหลของน้ำเพิ่มมากขึ้น ความชุ่มชื้นมีเพิ่มขึ้นและแผ่กระจายความชุ่มชื้นออกไปเป็นวงกว้างในพื้นที่ทั้งสองฝั่งของลำห้วย, ช่วยกับเก็บตะกอนและวัสดุต่างๆ ที่ไหลลงมากับน้ำในลำห้วยได้ดี เป็นการช่วยยืดอายุแหล่งน้ำตอนล่างให้ตื้นเขินช้าลง คุณภาพของน้ำมีตะกอนปะปนน้อยลง, ช่วยเพิ่มความหลากหลายทางด้านชีวภาพให้แก่พื้นที่ และ ทำให้เป็นแหล่งที่อยู่อาศัยของสัตว์น้ำ และใช้เป็นแหล่งน้ำเพื่อการอุปโภคบริโภคของมนุษย์ และสัตว์ป่าต่างๆ ตลอดจนมีน้ำใช้เพื่อการเกษตรกรรมอีกด้วย
ภาพข่าว-
วีดีโอ -ศูนย์ประชาสัมพันธ์กองทัพภาคที่ 3 ธีรพงศ์ นาคแนม (นกพิราบศูนย์ข่าว
จังหวัดพิจิตร)ศูนย์ประสานงานข่าว โทร 0831671688 รายงาน** คนรู้จักพัก
ทว่าไม่รู้จักพอ ** จิตอาสาพัฒนา
เราทำความดีด้วยหัวใจ....ร่วมใจกันพัฒนา
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น