วันพุธที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2566

รมช.ไชยา มอบนโยบายและแนวทางขับเคลื่อนงานนโยบายที่สำคัญของกรมหม่อนไหม พร้อมผลักดันผ้าไหมปักธงชัยให้เป็น Soft Power ไปทั่วโลก


รมช.ไชยา มอบนโยบายและแนวทางขับเคลื่อนงานนโยบายที่สำคัญของกรมหม่อนไหม พร้อมผลักดันผ้าไหมปักธงชัยให้เป็น Soft Power ไปทั่วโลก

วันที่ 15 พฤศจิกายน 2566 นายไชยา พรหมา รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ลงพื้นที่ตรวจราชการจังหวัดนครราชสีมา พร้อมด้วยพันจ่าเอก ประเสริฐ มาลัย หัวหน้าผู้ตรวจราชการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และเจ้าหน้าที่ในสังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ โดยมี     นายสยาม ศิริมงคล ผู้ว่าราชการจังหวัดนครราชสีมา นายวัชรพงษ์ แก้วหอม รองอธิบดีกรมหม่อนไหม นายศรัญญู พูลลาภ  รองอธิบดีกรมหม่อนไหม ผู้บริหารกรมหม่อนไหม เจ้าหน้าที่กรมหม่อนไหม      ทั้งส่วนกลางและภูมิภาค และหัวหน้าส่วนราชการสังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์จังหวัดนครราชสีมา ให้การต้อนรับ โดยการตรวจราชการในครั้งนี้ รัฐมนตรีช่วยฯ ไชยา ได้เป็นประธาน     เปิดการสัมมนาโครงการเพิ่มประสิทธิภาพการปฏิบัติงานโครงการ และการขับเคลื่อนงานนโยบาย      ที่สำคัญของกรมหม่อนไหม กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ปีงบประมาณ 2567 ณ โรงแรมแคนทารี    โฮเทล โคราช จังหวัดนครราชสีมา ซึ่งการสัมมนาดังกล่าว เป็นการสร้างการรับรู้ สร้างความเข้าใจ ให้กับบุคลากรของกรมหม่อนไหมนำไปใช้เป็นแนวทาง ในการสร้างสรรค์ ขับเคลื่อน และต่อยอดการดำเนินงานต่างๆ สู่เกษตรกรผู้ปลูกหม่อนเลี้ยงไหม อันเป็นจุดเริ่มต้นของการขับเคลื่อนนโยบายการดำเนินงานของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ภายใต้การบริหารราชการแผ่นดินของนายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี ซึ่งใช้หลักการ "ตลาดนำ นวัตกรรมเสริม เพิ่มรายได้" อีกทั้งยังช่วยให้เจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานโครงการของกรมหม่อนไหม ได้รับทราบแนวทางการดำเนินโครงการและสามารถแปลงแนวทางลงสู่การปฏิบัติในพื้นที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ บรรลุวัตถุประสงค์โครงการ ตลอดจนเป็นเวทีการแลกเปลี่ยนความรู้ ประสบการณ์ในการปฏิบัติงานโครงการที่ผ่านมา และปัญหาอุปสรรค และการเสนอแนวทางแก้ไขเพื่อนำไปใช้เป็นแนวทางปรับปรุงพัฒนาการปฏิบัติงานด้านการส่งเสริมอาชีพการปลูกหม่อนเลี้ยงไหมแก่เกษตรกรต่อไป

ทั้งนี้ รัฐมนตรีช่วยฯ ไชยา ได้มอบมอบนโยบายและแนวทางขับเคลื่อนงานนโยบายที่สำคัญของกรมหม่อนไหม เพื่อเป็นแนวทางให้กรมหม่อนไหมส่งเสริมงานด้านหม่อนไหมทั้งระบบครบวงจร นอกจากนี้ คณะรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เยี่ยมชมศูนย์หม่อนไหมเฉลิม      พระเกียรติฯ นครราชสีมา ซึ่งเป็นที่ตั้งของกรมช่างไหม สาขากองช่างไหมเมืองนครราชสีมาเมื่อครั้งอดีต

เป็นการขยายงานของกรมช่างไหมสู่ผู้ปลูกหม่อนเลี้ยงไหมในภูมิภาค โดยคณะฯ ได้เยี่ยมชมนิทรรศการแปลงใหญ่หม่อนไหม โรงเลี้ยงไหม การผลิตไหมเพื่อผลิตไข่ไหมพันธุ์ดี อาคารห้องเย็นเก็บไข่ไหม การทำไข่ไหมแผ่น การฟอกย้อมสีธรรมชาติ นิทรรศการโครงการธนาคารเชื้อพันธุกรรม การเก็บรักษา  พันธุ์ไหม และเยี่ยมชมนิทรรศการมาตรฐานตรานกยูงพระราชทาน

นอกจากนี้ รัฐมนตรีช่วยฯ ไชยา ได้เยี่ยมชมผลิตภัณฑ์หม่อนไหมและผ้าไหมอำเภอปักธงชัย       ณ ศูนย์ไหมนครชัยบุรินทร์ อำเภอปักธงชัย พร้อมเปิดงาน “กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ พบประชาชนและผู้ทอผ้าไหมปักธงชัย” โดยมีนายสุพจน์ แสนมี นายอำเภอปักธงชัย นายธนเดช ศรีณรงค์นายกเทศมนตรีเมืองเมืองปัก หัวหน้าส่วนราชการในพื้นที่ โดยมีประชาชนและผู้ทอผ้าไหม ราว 200 คนร่วมงานและให้การต้อนรับ สำหรับอำเภอปักธงชัย ถือว่าเป็นแหล่งผลิตผ้าไหมที่มีคุณภาพ โดยศูนย์หม่อนไหมเฉลิมพระเกียรติฯ นครราชสีมา กรมหม่อนไหม กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้บูรณาการทำงานร่วมกับอำเภอปักธงชัย เทศบาลเมืองเมืองปัก และชาวปักธงชัย ผลักดันการผลิตผ้าไหมของอำเภอปักธงชัย ยกระดับมาตรฐานสู่สากล โดยการรับรองมาตรฐานผลิตภัณฑ์ผ้าไหมไทย “ตรานกยูงพระราชทาน” ที่เน้นการตรวจสอบแหล่งที่มาของวัตถุดิบ กระบวนการผลิต และได้รับการรับรองมาตรฐานผลิตภัณฑ์ผ้าไหมไทยตรานกยูงพระราชทาน การรับรองร้านค้าจำหน่ายผ้าไหมที่ได้มาตรฐาน เพื่อให้ผู้บริโภคเกิดความมั่นใจ อีกทั้งยังเป็นการสร้างภาพลักษณ์ที่ดีให้กับร้านค้าที่ผ่านการรับรองจากกรมหม่อนไหม ปัจจุบันอำเภอปักธงชัย มีกลุ่มผู้ทอผ้าไหมที่ผ่านการรับรองมาตรฐานผลิตภัณฑ์ผ้าไหมไทย “ตรานกยูงพระราชทาน” จำนวน 28 กลุ่ม และมีร้านค้าที่ได้ใบรับรองร้านค้าจำหน่ายผ้าไหมที่ได้มาตรฐาน จำนวน 28 ร้านค้า มีการผลิตผ้าไหมทั้งสิ้นประมาณ 194,202 เมตรต่อปี และสามารถผลิตผ้าไหมที่ผ่านการรับรองตรานกยูงพระราชทานปีละ 32,282 เมตร โดยจะมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ เพื่อเป็นการกระตุ้นการตลาดผ้าไหม ประชาสัมพันธ์แหล่งผลิตผ้าไหมคุณภาพดี และการผลิตผ้าไหมตรานกยูงพระราชทานของอำเภอปักธงชัย จังหวัดนครราชสีมา ให้เป็น Soft Power ไปทั่วโลก 












กันตินันท์ เรืองประโคน ผู้สื่อข่าวภูมิภาค นครราชสีมา

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

มณฑลทหารบกที่ 37 และ สมาคมแม่บ้านทหารบก สาขา มณฑลทหารบกที่ 37 ร่วมพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) การพัฒนาการศึกษาและการพัฒนาส่งเสริมการฝึกอบรมวิชาชีพ ระหว่าง มณฑลทหารบกที่ 37 กับ สถาบันการศึกษา 6 สถาบัน

มณฑลทหารบกที่ 37   และ สมาคมแม่บ้านทหารบก สาขา มณฑลทหารบกที่ 37  ร่วมพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) การพัฒนาการศึกษาและการพัฒนาส่งเ...