วันพุธที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2566

อุตรดิตถ์เข้มเอาจริงกับการแก้ปัญหาไฟป่า ออกประกาศห้ามเข้าป่า ฝ่าฝืนจับดำเนินคดี เพื่อลดจำนวนคนเข้าป่า พร้อมจัดชุดเฝ้าระวังระดับหมู่บ้าน ทำบัญชีรายชื่อผู้เข้าป่าจัดชุดลาดตระเวนป่าพร้อมแจ้งความดำเนินคดีกับผู้เผาป่าทุกราย เริ่ม 1 มีนาคม วันนี้ทันที


ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ที่ห้องประชุมชั้น 3 สำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัดอุตรดิตถ์ นายนพฤทธิ์  ศิริโกศล รองผู้ว่าราชการจังหวัดอุตรดิตถ์ เป็นประธานประชุมเพื่อติดตามการดำเนินงานยกระดับการป้องกันและแก้ไขปัญหาไฟป่า หมอกควันและฝุ่นละออง หน่วยงานในสังกัดทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ท้องที่จังหวัดอุตรดิตถ์ จากการเฝ้าติดตามการป้องกันและการแก้ไขปัญหาไฟป่า หมอกควันและฝุ่นละอองในจังหวัดอุตรดิตถ์ โดยมี นายมรกต  อินทรภู่ ผู้อำนวยการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัดอุตรดิตถ์ นายสมภพ  ค้าไม้ ผู้อำนวยการสำนักจัดการทรัพยากรป่าไม้ที่ 3 ลำปาง พร้อมด้วยหน่วยงานในสังกัดที่รับผิดชอบ ประกอบด้วย เจ้าพนักงานป่าไม้อาวุโส เจ้าพนักงานป่าไม้ชำนาญงาน นักวิชาการป่าไม้ปฏิบัติการ หัวหน้าหน่วยรักษาพันธุ์สัตว์ป่าแม่จริม หัวหน้าหน่วยรักษาพันธุ์สัตว์ป่าน้ำปาด หัวหน้าหน่วยป้องกันและพัฒนาป่าไม้ฟากท่า หัวหน้าอุทยานแห่งชาติลำน้ำน่าน หัวหน้าสถานีควบคุมไฟป่าต้นสักใหญ่ หัวหน้าอุทยานแห่งชาติภูสอยดาว หัวหน้าวนอุทยานห้วยน้ำลี หน่วยจัดการต้นน้ำห้วยผึ้ง ผู้จัดการองค์การอุตสาหกรรมป่าไม้ หน่วยจัดการต้นน้ำห้วยทรายขาว ฯลฯ


นายนพฤทธิ์ กล่าวต่อที่ประชุมว่า พบจุดฮอตสปอตมากเพิ่มขึ้น รุนแรงขึ้นเป็นจำนวนมากและหลายแห่ง ความรุนแรงของไฟเกิดมากขึ้น อาจทำให้ไม่สามารถควบคุมได้ จึงได้เชิญหน่วยงานทุกหน่วยทั้งหมดมาร่วมกันพิจารณาหารือในมาตรการที่จะดำเนินการต่อไปที่จะเข้มข้นมากขึ้น สัปดาห์ที่ผ่านมา ทางสำนักปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมให้ข่าวออกมาว่ามีการปิดอุทยาน 7-8 แห่ง ในพื้นที่ภาคเหนือ ซึ่งเป็นมาตรการหนึ่งที่เพิ่มความเข้มข้นในการทำงานเพื่อการป้องกันไฟป่ามากขึ้น ในส่วนของจังหวัดอุตรดิตถ์ก็จะได้พูดคุยกันว่าในแต่ละเขตพื้นที่ อาทิ เขตอุทยาน เขตป่าสงวน เขตรักษาพันธุ์ จะเพิ่มมาตรการเข้มข้นขึ้นอย่างไร เพื่อที่จะทำให้การหยุดฮอตสปอต ลดการเผาป่าไม้ลงให้ได้ในช่วงนี้ ซึ่งจังหวัดอุตรดิตถ์ก็ควรมีมาตรการในภาพรวมของทั้งจังหวัดทุกพื้นที่ทุกเขต ทั้งป่าไม้ ป่าสงวนและอุทยาน เราจะเพิ่มความเข้มข้นในการดำเนินการอย่างไร  จากที่ได้เคยพูดคุยกันในที่ประชุมครั้งผ่านมาในที่ประชุมคอนเฟอเรนซ์ของกระทรวงทรัพยากร ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม หลังจากที่รองปลัดกระทรวงได้ปิดประชุมไปแล้ว เราได้มีการปรึกษา หารือกันว่า จังหวัดอุตรดิตถ์ควรมีมาตรการ “ปิดป่า” ส่วนจะปิดแค่ไหน ปิดอย่างไรหรือปิดแบบไหน ก็ขอให้แต่ละหน่วยงานนำเสนอแนวทางและวิธีการดำเนินงานในรูปแบบของตนเอง ทั้งนี้ได้นำเรียนให้ นายสมหวัง  พ่วงบางโพ ผู้ว่าราชการจังหวัดอุตรดิตถ์ ได้รับทราบในที่ประชุมจังหวัดหรือประชุมประจำเดือนของนายอำเภอทุกอำเภอและกระทรวงมหาดไทย นำเรียนไปแล้วว่าวันนี้ตอนบ่ายจะเรียกประชุมในส่วนของป่าไม้ อุทยานและส่วนที่เกี่ยวข้องของทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัดอุตรดิตถ์ โดยผู้ว่าราชการจังหวัดอุตรดิตถ์ ได้ให้นโยบายไว้ให้เจ้าของพื้นที่เป็นหลักในการดำเนินการ จะประกาศปิดป่าหรือประกาศควบคุม เข้มข้นตรงไหนอย่างไร ให้เจ้าของพื้นที่ดำเนินการ ส่วนฝ่ายปกครองก็จะเป็นแนวร่วมกำลังเสริมให้เนื่องจากไม่ได้มีอำนาจโดยตรง แต่จะทำงานร่วมกับป่าไม้ในแต่ละฝ่ายเพราะอยู่ในพื้นที่เดียวกัน จึงขอแจ้งแนวทางหลักการดำเนินงานในพื้นที่ให้ได้รับทราบ


นายมรกต ผู้อำนวยการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัดอุตรดิตถ์ กล่าวถึงหนังสือด่วนที่สุด นำเรียนถึงผู้ว่าราชการจังหวัดอุตรดิตถ์ โดยนายจตุพร  บุรุษพัฒน์ ปลัดกระทรวงทรัพยากร ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม แจ้งถึงสถานการณ์ไฟป่า หมอกควัน และฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 2.5ไมครอน (PM.:) ในพื้นที่ 17 จังหวัดภาคเหนือ มีความรุนแรงจากไฟป่าและการเผาในที่โล่ง ส่งผลกระทบต่อสุขภาพอนามัยของประชาชน กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ได้ติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิด และยกระดับ การดำเนินงานในการป้องกันและแก้ไขปัญหามาอย่างต่อเนื่อง ตามแผนปฏิบัติการขับเคลื่อนวาระแห่งชาติ "การแก้ไขปัญหามลพิษด้านฝุ่นละออง" และแผนเฉพาะกิจเพื่อการแก้ไขปัญหามลพิษด้านฝุ่นละออง ปี 2566 ภายใต้กรอบ "สื่อสารเชิงรุก ยกระดับปฏิบัติการ สร้างการมีส่วนร่วม" ใน 3 พื้นที่ (เมือง ป่า เกษตร) และนโยบายการป้องกันและแก้ไขปัญหาไฟป่า หมอกควัน และฝุ่นละออง ในพื้นที่ภาคเหนือ ปี 2566 ของรองนายกรัฐมนตรี (พลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ) กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม จึงขอความร่วมมือจากท่านยกระดับการปฏิบัติการป้องกันและแก้ไขปัญหาไฟป่า หมอกควัน และฝุ่นละออง ตามแผนและนโยบายข้างต้นอย่างเคร่งครัด โดยใช้อำนาจเบ็ดเสร็จ สั่งการไปยังอำเภอ ตำบล หมู่บ้าน และเปิดโอกาสให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการป้องกันและแก้ไขปัญหา ทั้งนี้ ท่นสามารถประสานการดำเนินงานกับศูนย์ปฏิบัติการแก้ไขปัญหาไฟป่าและหมอกควัน (ส่วนหน้า ภาคเหนือ)ในพื้นที่รับผิดชอบของกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เพื่อปกป้องสุขภาพอนามัยของประซาชนและคลี่คลายสถานการณ์ให้กลับสู่สภาวะปกติโดยเร็วที่สุด แจ้งต่อที่ประชุมเพื่อให้หน่วยงานในสังกัดทุกหน่วยงานได้รับทราบทั่วกัน


ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ที่ประชุมได้สรุปผลการประชุมออกมาดังนี้ สรุปการประชุมยกระดับการแก้ไขปัญหาไฟป่าในพื้นที่ป่า 1.ประชาสัมพันธ์ ให้ความรู้กับประชาชนไม่เผาป่า 2.ออกกฎหมู่บ้านห้ามเผา 3ทำบัญชีรายชื่อคนเข้าป่า4.จัดชุดเฝ้าระวังของหมู่บ้าน(ชรบ./เวรยาม) 5.ควบคุมการเข้าป่า ลดจำนวนคนเข้าป่า 6.ออกประกาศห้ามเข้าป่า ใครมีความจำเป็นให้มาแจ้งขอ2ชั้น(1)กำนัน ผู้ใหญ่บ้านคัดกรอง ส่งรายชื่อให้เจ้าหน้าที่ป่าไม้ (2)เจ้าหน้าที่ป่าไม้/อุทยานที่รับผิดชอบพื้นที่ป่า รับทราบและพิจารณารายชื่อ 7.เจ้าหน้าที่ป่าไม้จัดชุดตรวจลาดตระเวนป่า 8.จับกุมดำเนินคดีผู้เข้าป่าโดยไม่ได้ขออนุญาต 9.แจ้งความดำเนินคดีเผาป่าทุกราย10.การออกประกาศห้ามเข้าป่า 10.1พทอุทยาน (15แห่ง) ให้หนอุทยาน/เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า/เขตห้ามล่า ออกประกาศพื้นที่ตนเอง(15ประกาศ)รายงานให้ผู้ว่าราชการจังหวัดอุตรดิตถ์ทราบ 10.2 พื้นที่ป่าสงวน(15ป่า) ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเสนอประกาศจังหวัดให้ผู้ว่าราชการจังหวัดลงนาม(ประกาศเดียวรวม15ป่า) 10.3แจ้งประกาศให้นายอำเภอทราบและแจ้งกำนันผู้ใหญ่บ้านทราบ ในการประชุมประจำเดือนมีนาคม 256610.4ให้ผู้ใหญ่บ้านเซ็นรับทราบหรือติดประกาศที่หมู่บ้านด้วย10.5เริ่มมีผลตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม 2566 จนกว่าจะมีการเปลี่ยนแปลง










นาคา คะเลิศรัมย์/รายงาน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

เลขาธิการกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในภาค 3 ติดตามการป้องกันและแก้ไขปัญหาไฟป่าหมอกควัน ฝุ่นละออง (PM 2.5) ปี 2568 ในพื้นที่ของกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในจังหวัดสุโขทัย

เลขาธิการกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในภาค 3 ติดตามการป้องกันและแก้ไขปัญหาไฟป่าหมอกควัน ฝุ่นละออง (PM 2.5) ปี 2568 ในพื้นที่ของกองอำนวยการร...