จ.อุตรดิตถ์ กรมทางหลวง เปิดเวที การประชุมสรุปผลการคัดเลือกรูปแบบการพัฒนาโครงการ การศึกษาความเหมาะสมด้านเศรษฐกิจ วิศวกรรม และผลกระทบสิ่งแวดล้อม
เมื่อวันที่ 30 สิงหาคม 2565 นายซูเกียรติ โอทาริก วิศวกรโยธาชำนาญการพิเศษ กรมทางหลวง เป็น ประธานในพิธีเปิดการประชุมสรุปผลการคัดเลือกรูปแบบการพัฒนาโครงการ การศึกษาความเหมาะสมด้านวกรรม และผลกระทบด้านสิ่แวดล้อมโครงการก่อสร้างทางแนวใหม่ สายทางเลี่ยงเจังหวัดอุตรดิตถ์ ที่กรมทางหลวงได้จัดทำแผนพัฒนาทางหลวงขึ้นตามทิศทางของแผนพัฒนาภาคเหนือ ที่ได้กำหนดทิศทางการพัฒนาภาคโดยใช้โอกาสจากการเป็นพื้นที่ที่คาดว่าจะได้รับผลกระทบจากแผนงานการพัฒนาความร่วมมือทางเศรษฐกิจในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง (Greater Mekong Subregion Economic Cooperation Program :GMS Program) เพื่อรองรับการขยายตัวทางด้านการค้าและการลงทุน และส่งเสริม
ให้เกิดการพัฒนาเศรษฐกิจสังคมของพื้นที่ และสร้างความร่วมมือระหว่างประเทศที่เข้มแข็งมากยิ่งขึ้น โดยจังหวัดอุตรดิตถ์ เป็นจังหวัดในกลุ่มภาคเหนือตอนล่าง มีชื่อเสียงทั้งในด้าน เป็นแหล่งท่องเที่ยว เชิงประวัติศาสตร์ อารยธรรม และแหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศ เช่น วัดพระบรมธาตุทุ่งยั้ง วัดพระฝาง เมืองลับแล
เขื่อนสิริกิติ์ อุทยานแห่งชาติภูสอยดาว และอุทยานแห่งชาติต้นสักใหญ่ และมีจุดผ่านแดนถาวรภูดู่ ที่อำเภอ
บ้านโคก ซึ่งอยู่ติดกับเมืองปากลาย แขวงไชยะบุรี สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ซึ่งมีการค้าขาย นำเข้า ส่งออก สินค้า ระหว่างประเทศไทยและลาว ในปัจจุบันจังหวัดอุตรดิตถ์ มีเส้นทางคมนาคมที่เชื่อมต่อทั้งภายในภาคเหนือและระหว่างภาคเหนือกับภาคอื่นทั้งทางบกและทางรถไฟ มีทางหลวงสายสำคัญคือทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 1 1, ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข102,,ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 1045 และทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 1 1 7 ในการรองรับการคมนาคมขนส่งภายในพื้นที่ และเป็นเส้นทางเชื่อมไปยังจุดผ่าน แดนถาวรภูดู ติดต่อกับ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ซึ่งปัจจุบันทางหลวงดังกล่าวมีปริมาณจราจรสูง มีรถบรรทุกสินค้าวิ่งผ่านจำนวนมาก ประกอบกับไม่มีถนนเลี่ยงเมืองอุตรดิตถ์ ส่งผลให้เกิดปัญหาาความ ล่าช้าในการเดินทาง การจราจรติดขัด เสี่ยงต่ออุบัติเหตุและเกิดความไม่ปลอดภัยแก่ผู้ใช้รถใช้ถนน และเพื่อ เป็นการลดปัญหาดังกล่าว กรมทางหลวงจึงได้ว่าจ้างกลุ่มบริษัทที่ปรึกษา ให้ดำเนินการศึกษาความเหมาะสม
ด้านเศรษฐกิจ วิศวกรรม และผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมเบื้องต้น รวมถึงการดำเนินงานการมีส่วนร่วมของประชาชน สำหรับโครงการก่อสร้างทางแนวใหม่ สายทางเลี่ยงเมืองอุตรดิตถ์ เพื่อคัดเลือกและศึกษาแนวเส้นทางให้มีความเหมาะสม สอดคล้องกับบริบทความต้องการ และประโยขน์ต่อพื้นที่มากที่สุด ทั้งนี้ การดำเนินงานการศึกษาโครงการดังกล่าว กรมทางหลวงได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของการมีส่วนร่วมของประชาชนในพื้นที่โครงการ จึงจัดให้มีการประชุมสรุปผลการคัดเลือกรูปแบบการพัฒนาโครงการ
(การประชุมสัมมนาครั้งที่ 2) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอความก้าวหน้าของผลการดำเนินงานด้านต่างๆและสรุปแนวเส้นทางที่เหมาะสมของโครงการให้กลุ่มเป้าหมายได้รับทราบโครงการและรับฟังความคิดเห็นและนอแนะจากประชาชน สำหรับนำมาพิจารณาประกอบการศึกษาและออกแบบโครงการให้มีความเหมาะสมต่อไป
นาคา คะเลิศรัมย์/รายงาน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น