“เฉลิมชัย”เดินหน้าเตรียมประกาศ เป็นประเทศกาฬโรคในม้า หลังไม่พบโรคมาปีกว่า
นายเฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยว่า จากที่ได้มีการรายงานพบโรคกาฬโรคแอฟริกาในม้า (African Horse Sickness: AHS) ซึ่งเป็นโรคอุบัติใหม่ครั้งแรกในประเทศไทยมีการรายงานพบการเกิดโรคไปองค์การสุขภาพสัตว์โลก (OIE) เมื่อ 27 มีนาคม พ.ศ. 2563 ซึ่งส่งผลกระทบและสร้างความเสียหายต่อผู้เลี้ยงม้าอย่างมาก ทั้งทางด้านเศรษฐกิจและการท่องเที่ยว เช่น ไม่สามารถจัดการแข่งขันม้าทั้งภายในประเทศและระดับนานาชาติ ไม่สามารถเคลื่อนย้ายม้าข้ามจังหวัดหรือออกนอกประเทศ ไม่สามารถนำม้าให้บริการนักท่องเที่ยวหรือทำสันทนาการได้ ทำให้ผู้เลี้ยงม้าขาดรายได้และ เพื่อเป็นการลดผลกระทบให้น้อยที่สุดและควบคุมโรคในวงจำกัด จึงได้ให้สั่งการเร่งด่วนให้กรมปศุสัตว์ดำเนินการควบคุมโรคทันที เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาในการระบาด
อย่างไรก็ตามที่ผ่านมา กรมปศุสัตว์ ได้เร่งดำเนินการพร้อมด้วยภาคีเครือข่าย หน่วยงานภาครัฐและหน่วยงานเอกชนที่เกี่ยวข้องร่วมมือกันอย่างต่อเนื่อง เพื่อลดความเสียหายให้เกิดขึ้นน้อยที่สุด โดยขอให้ทุกหน่วยงานร่วมกันดำเนินการตามมาตรการป้องกัน ควบคุม และกำจัดโรค เพื่อควบคุมโรคให้อยู่ในพื้นที่ที่จำกัดลดการแพร่กระจายไปยังพื้นที่อื่นๆ ได้กำหนดแผนปฏิบัติการการกำจัดโรคกาฬโรคแอฟริกาในม้าเพื่อขอคืนสถานภาพปลอดโรคจากองค์การสุขภาพสัตว์โลก (OIE) โดยแนวทางดำเนินการประกอบด้วย 3 ระยะ คือ ระยะที่ 1 ระยะเผชิญเหตุ ระยะที่ 2 ระยะเฝ้าระวังและป้องกันการอุบัติซ้ำของโรค และระยะที่ 3 ขอคืนสถานภาพรับรองการปลอดโรค AHS ในประเทศไทยจาก OIE โดยตามข้อกำหนดของ OIE (OIE Terrestrial Animal Health Standards Commission, 2018) ระบุเงื่อนไขในการขอคืนสถานภาพปลอดโรคจะต้องไม่พบม้าป่วยใหม่เพิ่มเติมในประเทศไทยเป็นระยะเวลา 2 ปี และต้องมีการหยุดการใช้วัคซีนภายในประเทศก่อนเป็นเวลาอย่างน้อย 1 ปี จึงจะสามารถดำเนินการขอคืนสถานะปลอดโรคนี้จาก OIE ได้ โดย OIE ได้กำหนดการขอคืนสถานะปลอดโรค AHS ในรูปแบบของ free country หรือ free zone ไว้ด้วย
ทั้งนี้จากการดำเนินงานอย่างเข้มงวดและความร่วมมือจากทุกฝ่ายอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้ ณ ปัจจุบัน ประเทศไทยไม่พบการระบาดของโรค AHS แล้วตั้งแต่เดือนกันยายน 2563 เพื่อเป็นการเฝ้าระวังและขอคืนสถานภาพปลอดโรค AHS จาก OIE ได้โดยเร็ว กรมปศุสัตว์ได้เร่งขับเคลื่อนมาตรการต่างๆ ได้แก่ การเฝ้าระวังโรค การควบคุมเคลื่อนย้าย การควบคุมแมลงและพาหะ และการเฝ้าระวังโรคในกลุ่มเป้าหมายเฉพาะหรือพื้นที่เฉพาะ (Sentinel surveillance) ซึ่งจากข้อมูลที่กรมปศุสัตว์ได้ดำเนินการมาตั้งแต่ต้นจนพบม้าป่วยตัวสุดท้าย สามารถขอคืนสถานภาพปลอดโรคจาก OIE ได้ภายในปี 2566 นี้ นอกจากนี้เพื่อเป็นการสร้างความเชื่อมั่นในการดำเนินงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องสอดคล้องกับข้อกำหนดสุขภาพสัตว์บกของ OIE โดยกรมปศุสัตว์จึงได้หารือ Dr. Susanne Muensterman ที่ปรึกษา OIE มาตั้งแต่ต้น โดย Dr. Susanne มีกำหนดเดินทางมาประเทศไทย ระหว่างวันที่ 21-27 พฤศจิกายน 2564 เพื่อเป็นที่ปรึกษาและตรวจประเมินการดำเนินงานควบคุมและกำจัดโรค AHS ของประเทศไทยให้มีความสอดคล้องกับข้อกำหนดสุขภาพสัตว์บกของ OIE ก่อนที่ประเทศไทยจะยื่นขอรับรองคืนสถานภาพปลอดโรค โดยมีกำหนดการเข้าเยี่ยมชมห้องปฏิบัติการ ด่านกักกันสัตว์ สถานที่กักสัตว์ และสถานที่ที่มีสัตว์ sentinel เพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลและหารือในประเด็นต่างๆ กับเจ้าหน้าที่กรมปศุสัตว์และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง แล้ว
โดยล่าสุดวันที่ 24 พฤศจิกายน 2564 นี้ กรมปศุสัตว์ได้จัดประชุมหารือร่วมภาคีเครือข่าย Mr. Harald Link นายกสมาคมกีฬาขี่ม้าแห่งประเทศไทย และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง โดยมี Dr. Susanne ร่วมประชุมหารือด้วย โดย Dr. Susanne ได้ให้ข้อเสนอแนะในการจัดทำเอกสาร รวมทั้งการปรับแนวทางและกิจกรรมการเฝ้าระวังโรคให้ครอบคลุมและครบถ้วนยิ่งขึ้น เช่น ปรับแผน Sentinel surveillance เพิ่มการเฝ้าระวังทางห้องปฏิบัติการในสัตว์กลุ่มม้าลายในพื้นที่เสี่ยง และเพิ่มการประชาสัมพันธ์ต่อผู้มีส่วนได้ส่วนเสียเพื่อสร้างความรู้ ความเข้าใจให้มากขึ้นซึ่งประเทศไทยได้ดำเนินการสอดคล้องตามข้อกำหนดและข้อเสนอแนะของ OIE โดยคาดว่าจะสามารถขอคืนสภาพปลอดโรค AHS ภายในปี พ.ศ. 2566 นี้ได้แน่นอน ซึ่งการเดินทางมาในครั้งนี้ของ Dr. Susanne จะเป็นประโยชน์กับกรมปศุสัตว์และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอย่างมาก หากคืนสถานภาพปลอดโรคได้จะทำให้ประเทศไทยลดผลกระทบและความสูญเสียจากโรคดังกล่าว อุตสาหกรรมม้าของประเทศกลับสู่ปกติ และสามารถจัดการแข่งขันกีฬาขี่ม้าในระดับนานาชาติ ซึ่งสร้างมูลค่ามหาศาลให้กับประเทศไทยได้ต่อไป
(นกพิราบศูนย์ข่าว พิจิตร) ข่าวทั่วไทยออนไลน์ น.ส.พ.ข้าแผ่นดินสยาม
ข่าวคมชัด aec-tv-online รอบวันทันข่าว
0831671688 รายงาน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น