วันพุธที่ 29 กันยายน พ.ศ. 2564

อธิบดีกรมชลประทาน ติดตามสถานการณ์น้ำอ่างเก็บน้ำลำเชียงไกร (ตอนล่าง) พร้อมมอบแนวทางการบริหารจัดการน้ำ เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนให้กับประชาชนที่ได้รับผลกระทบ


เมื่อวันที่ 28 กันยายน 2564  นายประพิศ จันทร์มา อธิบดีกรมชลประทาน ลงพื้นที่ติดตามสถานการณ์น้ำอ่างเก็บน้ำลำเชียงไกร (ตอนล่าง) พร้อมมอบแนวทางการบริหารจัดการน้ำ เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนให้กับประชาชนที่ได้รับผลกระทบโดยมี นายชูชาติ รักจิตร รองอธิบดีฝ่ายก่อสร้าง นายเกรียงไกร ภาคพิเศษ ผู้อำนวยการสำนักงานชลประทานที่ 8  นายพิศิษฐศักดิ์ โชตะมังสะ รองผู้อำนวยการสำนักงานชลประทานที่ 8 นายกระวิน  โพธิ์นาคเงิน  ผู้อำนวยการส่วนเครื่องจักรกลนายกิติกุล  เสภาศีราภรณ์  ผู้อำนวยการโครงการชลประทานนครราชสีมา  และผู้บริหารของสำนักงานชลประทานที่ 8 รายงานสถานการณ์น้ำในปัจจุบัน พร้อมความก้าวหน้าของการดำเนินงานต่างๆ                 


นอกจากนี้ นายประพิศ จันทร์มา อธิบดีกรมชลประทาน ได้ให้สัมภาษณ์กับผู้สื่อข่าวที่ติดตามทำข่าวเกี่ยวกับสถานการณ์น้ำ แนวโน้ม การคาดการณ์และการเร่งดำเนินการให้ความช่วยเหลือเพื่อให้ประชาชนที่ได้รับผลกระทบได้กลับมาใช้ชีวิตปกติโดยเร็วที่สุด 

สำหรับสถานการณ์ปัจจุบัน พื้นที่ลุ่มน้ำลำเชียงไกร ซึ่งครอบคลุมเขตพื้นที่อำเภอด่านขุนทด อำเภอพระทองคำ อำเภอโนนไทยและอำเภอโนนสูง ได้รับอิทธิพลจากร่องมรสุมพาดผ่าน ตั้งแต่วันที่ 26 สิงหาคม 2564 ถึงวันที่               28 กันยายน 2564 มีฝนตกอย่างต่อเนื่อง ทำให้เกิดน้ำท่าในพื้นที่ลุ่มน้ำปริมาณมาก ไหลลงอ่างเก็บน้ำเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว 


สถานการณ์ปัจจุบัน ของอ่างเก็บน้ำลำเชียงไกร (ตอนบน) อำเภอด่านขุนทด จังหวัดนครราชสีมา ปัจจุบันมีปริมาตรน้ำในอ่างฯ 9.040 ล้านลูกบาศก์เมตร  ระดับน้ำลดลงจากเมื่อวาน ปริมาณน้ำไหลลงอ่างฯ 7.450 ล้านลูกบาศก์เมตร ระบายน้ำลงลำน้ำเดิมและทางระบายน้ำล้นรวม 7.979 ล้านลูกบาศก์เมตร พื้นที่ลุ่มต่ำด้านท้ายอ่างฯ ที่ได้รับผลกระทบจากน้ำท่า (Side Flow)ในพื้นที่ ได้แก่ ตำบลกุดพิมาน (4 ม.)ตำบลสระจระเข้ ( 5 ม.) ตำบลด่านขุนทด(9 ม.) อำเภอด่านขุนทด

อ่างเก็บน้ำลำเชียงไกร (ตอนล่าง) อำเภอโนนไทย จังหวัดนครราชสีมา ปัจจุบันมีปริมาตรน้ำในอ่างฯ 22.890 ล้านลูกบาศก์เมตร ระดับน้ำลดลง 2.14 เมตร ปริมาณน้ำไหลลงอ่างฯ 21.151 ล้านลูกบาศก์เมตร ระบายน้ำ 43.745 ล้านลูกบาศก์เมตร พื้นที่ลุ่มต่ำด้านท้ายอ่างฯ ที่ได้รับผลกระทบ ได้แก่  อำเภอโนนไทย ตำบลสำโรง(6 ม.)ตำบลบัลลังก์(16 ม.)ตำบลกำปัง(9 ม.)ตำบลถนนโพธิ์(8 ม.)ตำบลโนนไทย(7 ม.)ตำบลสายออ(9 ม.)ตำบลด่านจาก(4 ม.)ตำบลค้างพลู(3 ม.)ตำบลบ้านวัง(6 ม.) อำเภอโนนสูง ตำบลจันอัด(4 ม.)ตำบลเมืองปราสาท( 7 ม.) ตำบลลำมูล( 5 ม .) ตำบลบิง( 3 ม.)ตำบลดอนชมพู( 2 ม.)ตำบลธารปราสาท (11ม.)ตำบลโนนสูง (3 ชุมชน),อำเภอเมืองนครราชสีมา ตำบลโคกสูง (1 ม.) และ อำเภอด่านขุนทด ตำบลหนองบัวละคร( 6 ม.) ตำบลหนองบัวตะเกียด( 1 ม.) (เป็นพื้นที่เหนืออ่างฯ)

3. แนวโน้มและการคาดการณ์ (เวลา09.00 น.)


หากไม่มีฝนตกเพิ่มเติม ปริมาณน้ำท่าไหลลงอ่างเก็บน้ำจะลดลง และพื้นที่ท้ายอ่างฯ ที่ได้รับผลกระทบก็จะเข้าสู่ภาวะปกติภายใน 7-14 วัน    การให้ความช่วยเหลือ โดยโครงการชลประทานนครราชสีมา สำนักงานชลประทานที่ 8 ได้ประชาสัมพันธ์แจ้งเตือนการระบายน้ำให้ศูนย์บัญชาการเหตุการณ์ จังหวัดนครราชสีมา ผู้ว่าราชการจังหวัด นายอำเภอ องค์กรปกครองท้องถิ่น และประชาชนในพื้นที่ รับทราบสถานการณ์และแผนการบริหารจัดการน้ำ  ดำเนินการวาง Big Bag-คันกั้นน้ำ ช่วงบ้านโนนสง่าเพื่อป้องกันน้ำจาก ลำห้วยสามบาท ลำห้วยลุงไหลเข้าสมทบน้ำที่ท่วมขังบ้านบึงบัวทอง ตำบลหนองบัวละคร อำเภอด่าน    ขุนทด จังหวัดนครราชสีมา

ส่วนการบริหารจัดการน้ำในพื้นที่ ได้ติดตามและวิเคราะห์สถานการณ์น้ำ บริการจัดการน้ำให้อยู่ในเกณฑ์กำหนด Upper RuleCurve การระบายน้ำ (พร่องน้ำจากอ่างฯ) เพื่อไม่ให้เกิดผลกระทบกับพื้นที่ท้ายอ่างฯ ติดตามพยากรณ์อากาศของกรมอุตุนิยมวิทยาอย่างใกล้ชิด  ติดตั้งเครื่องผลักดันน้ำในลำเชียงไกร จำนวน 2 แห่ง รวม 6 เครื่อง จุดที่ 1 บ้านโนนหัวนา ตำบลกำปัง อำเภอโนนไทย จำนวน 4 เครื่อง จุดที่ 2 ชุมชนบ้านบัว ตำบลโนนสูง อำเภอโนนสูง จำนวน 2 เครื่อง ติดตั้งกาลักน้ำเพื่อเพิ่มอัตราการระบายน้ำออกจากอ่างเก็บน้ำลำเชียงไกร ตอนล่าง (วันที่ 13 ก.ย.64) ติดตั้งเครื่องผลักดันน้ำในลำเชียงไกร เพิ่มเติม จุดที่ 3 จำนวน 6 เครื่อง ที่สะพานบ้านส้ม ตำบลดอนชมพู อำเภอโนนสูง (วันที่ 15 ก.ย.64) ได้รับการสนับสนุนรถสูบส่งน้ำระยะไกลจากศูนย์ ปภ. เขต 5 นครราชสีมา เพื่อเร่งระบายน้ำออกจากอ่างเก็บน้ำลำเชียงไกร ตอนล่าง (วันที่ 16 ก.ย.64) ติดตั้งเครื่องผลักดันน้ำในลำเชียงไกร เพิ่มเติม จุดที่ 4 จำนวน 4 เครื่อง ที่ ปตร.บ้านจาน ตำบลกำปัง อำเภอโนนไทย (วันที่ 24 ก.ย.64) จุดที่ 5 จำนวน 2 เครื่อง จุดที่5 ปตร.บ้านลำเชิงไกร ตำบลโคกสูง อำเภอเมือง (วันที่ 25 ก.ย.64)

อย่างไรก็ตาม ขอให้ประชาชนติดตามข่าวสารจากหน่วยงานราชการ และหากต้องการความช่วยเหลือ สามารถติดต่อได้ที่สำนักงานชลประทานที่ 8  โครงการชลประทานนครราชสีมา หรือสายด่วนกรมชลประทาน 1460 ได้ตลอดเวลา















ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

เลขาธิการกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในภาค 3 ติดตามการป้องกันและแก้ไขปัญหาไฟป่าหมอกควัน ฝุ่นละออง (PM 2.5) ปี 2568 ในพื้นที่ของกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในจังหวัดสุโขทัย

เลขาธิการกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในภาค 3 ติดตามการป้องกันและแก้ไขปัญหาไฟป่าหมอกควัน ฝุ่นละออง (PM 2.5) ปี 2568 ในพื้นที่ของกองอำนวยการร...