วันอังคารที่ 29 มิถุนายน พ.ศ. 2564

นราพัฒน์ผู้ช่วย รมต.เกษตรลงพื้นที่เร่งชลประทานก่อสร้างปตร.ในแม่น้ำยม 




สภาพแม่น้ำยมยังคงวิกฤตแห้งขอดแต่เป็นโอกาสของงานก่อสร้างของกรมชลประทานที่กำลังดำเนินการสร้างประตูระบายน้ำทั้ง4 แห่งในเขตพื้นที่พิษณุโลก-พิจิตร ล่าสุด นายนราพัฒน์  แก้วทอง ผู้ช่วย รมต.เกษตรฯ ลงพื้นที่ติดตามความคืบหน้าของการก่อสร้างที่คืบหน้าไปแล้ว 50-60% คาดปลายปี 66 หรือต้นปี 67 สร้างเสร็จแน่ นาข้าวกว่า 3 แสนไร่ ได้ประโยชน์เต็มๆ แน่นอน

วันที่ 29 มิถุนายน พ.ศ. 2564 ความคืบหน้าของสถานการณ์แม่น้ำยมในเขตพื้นที่จังหวัดพิษณุโลก-พิจิตร สภาพของแม่น้ำยมยังคงวิกฤตแห้งขอด แต่ในวิกฤตก็ยังเป็นโอกาสให้กรมชลประทานเร่งมือในการก่อสร้างประตูระบายน้ำในแม่น้ำยมเพื่ออนาคตของเกษตรกร ล่าสุด นายนราพัฒน์  แก้วทอง ผู้ช่วย รมต.เกษตรและสหกรณ์  ได้ลงพื้นที่เพื่อเร่งรัดการดำเนินการก่อสร้างของกรมชลประทาน โดยมี นายเกรียงไกร ภาคพิเศษ ผู้อำนวยการสำนักงานชลประทานที่ 3 และ นายเสกโสม  เสริมศรี ผู้อำนวยการก่อสร้างชลประทานขนาดกลางที่ 3 พร้อมด้วยส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง ร่วมให้การต้อนรับโดยจุดแรกไปดูโครงการก่อสร้างประตูระบายน้ำท่านางงาม ซึ่งตั้งอยู่ที่หมู่ 10 ต.ท่านางงาม อ.บางระกำ จ.พิษณุโลก ใช้งบประมาณในการก่อสร้าง 460 ล้านบาท พื้นที่รับประโยชน์ประมาณ 5 หมื่นไร่เศษ จุดที่ 2 ไปดูโครงการก่อสร้างประตูระบายน้ำท่าแห ซึ่งตั้งอยู่ที่ ต.กำแพงดิน อ.สามง่าม จ.พิจิตร ใช้งบประมาณในการก่อสร้าง 350 ล้านบาท พื้นที่รับประโยชน์ประมาณ 8 หมื่นไร่เศษ จากนั้นจุดที่ 3 ไปดูโครงการก่อสร้างประตูระบายน้ำวังจิกซึ่งตั้งอยู่ที่ ต.โพธิ์ประทับช้าง อ.โพธิ์ประทับช้าง จ.พิจิตร ใช้งบประมาณในการก่อสร้าง 231 ล้านบาทเศษ พื้นที่รับประโยชน์ประมาณ 37,397 ไร่ รวมถึงไปดูประตูระบายน้ำสามง่าม ซึ่งเป็นฝายไฮดรอลิกพับได้ ที่สร้างเสร็จสมบูรณ์และใช้งานได้แล้ว  

โดย นายนราพัฒน์  แก้วทอง ผู้ช่วยรมต.เกษตรและสหกรณ์  ได้ให้สัมภาษณ์ว่า สถานการณ์น้ำในขณะนี้ต้องยอมรับว่าเกิดฝนทิ้งช่วงน้ำเหนือเขื่อนมีน้อยยังไม่สามารถส่งน้ำให้เกษตรกรได้อย่างเต็มเม็ดเต็มหน่วยแต่ก็ได้ประสานให้กรมฝนหลวงบินขึ้นทำฝนเทียมเหนือเขื่อนในทุกวันแล้ว ส่วนการลงพื้นที่ในครั้งนี้จะไปติดตามเร่งรัดการสร้าง ปตร.ทั้งหมด 7 แห่ง ในเขต พิษณุโลก  พิจิตร นครสวรรค์  ซึ่งขณะนี้การก่อสร้างรุดหน้าไปแล้ว 50-60% ซึ่งคาดว่าปลายปี 66/67 ทั้งหมดจะก่อสร้างแล้วเสร็จสมบูรณ์ ซึ่งจะส่งผลให้พื้นที่นาข้าวกว่า 3 แสนไร่ ได้รับประโยชน์เต็มๆอีกด้วย 








สิทธิพจน์  พิจิตร

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

กฟผ.แม่เมาะ Kick Off ป้องกันไฟป่าและหมอกควัน เดินหน้ามาตรการเชิงรุกครอบคลุมพื้นที่ 90,000 ไร่

กฟผ.แม่เมาะ Kick Off ป้องกันไฟป่าและหมอกควัน เดินหน้ามาตรการเชิงรุกครอบคลุมพื้นที่ 90,000 ไร่ วาง 3 แผนการดำเนินงานป้องกันไฟป่าและหมอกควัน พ...