วันพุธที่ 3 มีนาคม พ.ศ. 2564

พิจิตรพัฒนาชุมชนและเกษตรเร่งทำ โคก หนอง นา โมเดล 567 แห่ง เพื่อเกษตรกร

พิจิตรพัฒนาชุมชนและเกษตรเร่งทำ โคก หนอง นา โมเดล 567 แห่ง เพื่อเกษตรกร 

วันที่  3 มี.ค. 2564 นายเจิดศักดิ์   สอาดบุญเรือง   พัฒนาการจังหวัดพิจิตร เปิดเผยถึงความก้าวหน้าการดำเนินการโครงการพัฒนาพื้นที่ต้นแบบตามหลักทฤษฎีใหม่ประยุกต์สู่ “โคก หนอง นา โมเดล” ของจังหวัดพิจิตร ภายใต้แผนฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคมของประเทศไทย เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้น้อมนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงและเพ่อพัฒนาพื้นที่เรียนรู้ชุมชนต้นแบบระดับตำบลและระดับครัวเรือน ซึ่งสำนักงานพัมนาชุมชนจังหวัดพิจิตร ได้ประกาศเปิดรับเกษตรกรเข้าร่วมโครงการและได้ผ่านการคัดเลือกตามหลักเกณฑ์ได้แล้ว 151 ราย ในพื้นที่ 10 อำเภอ ซึ่งโครงการดังกล่าวเป็นการบูรณาการการทำงานของกรมการพัฒนาชุมชน – กรมการปกครอง  - กระทรวงเกษตร – องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ซึ่งขณะนี้อยู่ในขั้นตอนการประกาศหาผู้รับจ้างที่จะทำการขุด ปรับ แต่ง ปรับรูปแบบที่ดินทำเป็น โคก หนอง นา โมเดล เพื่อให้เกษตรกรมีผลผลิต  มีรายได้ ซึ่งพื้นที่ที่เข้าโครงการจะมีการขุดเป็น โคก หนอง นา  ขนาดพื้นที่ 1 ไร่ ปริมาณขุดดิน 1,500 ลูกบาศก์เมตร ด้วยงบประมาณ 45,200 บาท / แปลง , ขนาดพื้นที่  3 ไร่  ปริมาณขุดดิน 4,000 ลูกบาศก์เมตร   ด้วยงบประมาณ 104,000 บาท  / แปลง 

ผู้สื่อข่าวรายงานเพิ่มเติมว่า สำหรับโครงการ โคก หนอง นา โมเดลที่รับผิดชอบโดย สนง.พัฒนาชุมชนจังหวัดพิจิตร มี 151 ราย นอกจากนี้ก็ยังมีโครงการในลักษณะคลายคลึงกัน แต่เป็นความรับผิดชอบของ สนง. เกษตรและสหกรณ์จังหวัดพิจิตร โดยสำนักงานพัฒนาที่ดินพิจิตร  คือโครงการ 1 ตำบล 1 เกษตรทฤษฎีใหม่  ซึ่งก็จะมีการดำเนินการขุดสระ  ขุดบ่อน้ำให้เกษตรกรปรับรูปแบบแปลงที่ดินให้ทำการเกษตรแบบทฤษฎีใหม่มีอีก 416 ราย กำลังอยู่ในขั้นดำเนินการหาผู้รับจ้างในท้องถิ่นที่โครงการตั้งอยู่  ซึ่งทั้งหมดนี้เกษตรกรก็กำลังชะเง้อคอรอคอยรอการดำเนินการในช่วงฤดูแล้งนี้เพื่อหวังจะได้ใช้ประโยชน์ในไร่นาเพื่อกักเก็บน้ำในฤดูฝนที่จะมาถึงในอีกไม่กี่เดือนข้างหน้าแต่ดูเหมือนว่าทั้ง 2 โครงการ ดูเหมือนว่ามีอุปสรรคในเรื่องการจัดหาผู้รับจ้างซึ่งจะใช้วิธีเจาะจงตกลงราคากับผู้รับจ้าง แต่จนถึงทุกวันนี้ ( ในส่วนของพัฒนาชุมชน ) ก็ยังไม่ได้ผู้รับจ้างและยังไม่ได้ลงมือทำ อีกทั้งเจออุปสรรคด้านบุคลากรช่างที่อาจจะต้องปรับรูปแบบ โคก หนอง นา โมเดล ให้เข้ากับบริบทพื้นที่ รวมถึงกฎระเบียบหลายข้อของผู้ปฏิบัติในพื้นที่ไม่สอดคล้องกับความเป็นจริง อีกทั้งเรื่องข้อกฎหมาย พ.ร.บ.ขุดดิน ถมดิน ที่ต้องขออนุญาต อบต. หรือ เทศบาลตำบลต่างๆ รวมถึงหากจะปรับแก้แบบก็ต้องใช้วิศวกรระดับ 2 ลงนาม  ซึ่งในประเทศไทยมีบุคลากรในลักษณะนี้จำนวนจำกัดหรือน้อยมาก จึงทำให้เกิดความยุ่งยากในผู้ปฏิบัติระดับภูมิภาค แต่เรื่องดังกล่าวยังไม่พบการทุจริตแต่อย่างใด

จึงเป็นเหตุให้ถึงวันนี้งานยังไม่เดินหน้าเป็นรูปธรรม ซึ่งมีรายงานล่าสุดว่า  นายรังสรรค์  ตันเจริญ  ผู้ว่าราชการจังหวัดพิจิตร   ลงมาดำเนินการเร่งรัดและสั่งการด้วยตนเองแล้ว ซึ่งความคืบหน้าผู้สื่อข่าวจะได้รายงานให้ทราบต่อไป





สิทธิพจน์  พิจิตร

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น