วันพุธที่ 2 กันยายน พ.ศ. 2563

ปฏิบัติการ ฝึกซ้อมดับเพลิงขั้นต้นและอพยพหนีไฟ ในเหตุการณ์เสมือนจริง ของ โรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศร

วันนี้ 2 กันยายน 2563 เวลา 9:00 น  บริเวรหน้า อาคารอุบัติเหตุ-ฉุกเฉินโรงพยาบาล เจ้าพระยาอภัยภูเบศร นายวรพจน์ แววสิงห์งาม รองผู้ว่าราชการจังหวัดปราจีนบุรี เป็นประธานในพิธีเปิด โครงการฝึกซ้อมดับเพลิงขั้นต้นและอพยพหนีไฟ ในเหตุการณ์เสมือนจริง ของโรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศรประจำปีงบประมาณ 2563  โดยมีคณะผู้บริหารโรงพยาบาล และภาคีเครือข่ายทุกภาคส่วนเข้าร่วมการฝึกอบรมในครั้งนี้  
 โดยโรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศร ได้ให้ความสำคัญเกี่ยวกับ อัคคีภัย หรือภัยที่เกิดจากเพลิงไหม้ เป็นสาธารณภัยประเภทหนึ่งที่มีโอกาสเกิดขึ้นได้ตลอดเวลา เพื่อลดความสูญเสียจากอัคคีภัยที่อาจเกิดขึ้นได้ในทุกพื้นที่ กระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคมจึงได้ออกกฎกระทรวง เกี่ยวกับการบริหารจัดการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงาน  จึงกำหนดให้นายจ้างต้องจัดให้ลูกจ้างทุกคนฝึกซ้อมดับเพลิงขั้นต้นและฝึกซ้อมอพยพหนีไฟพร้อมกันอย่างน้อยปีละ 1 ครั้งเพื่อเป็นการพัฒนาทักษะความรู้ให้มีความเข้าใจเกี่ยวกับวิธีการดับเพลิงและอพยพหนีไฟและสามารถระงับเหตุเพลิงไหม้ในเบื้องต้นได้อย่างมีประสิทธิภาพ รวมถึงยังสามารถแจ้งเหตุและประสานงานระงับเหตุอัคคีภัยเบื้องต้นกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้อย่างถูกต้องและรวดเร็ว ซึ่งจะช่วยลดการสูญเสียและชีวิตและทรัพย์สินได้อย่างยั่งยืน  โรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศรจึงได้จัดทำโครงการฝึกซ้อมดับเพลิงขั้นต้น และอพยพหนีไฟ ในเหตุการณ์เสมือนจริง ของโรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศรประจำปีงบประมาณ 2563 ขึ้น โดยได้รับความอนุเคราะห์จากวิทยากรสำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดปราจีนบุรีและภาคีเครือข่ายที่เกี่ยวข้องจากทุกภาคส่วน ได้แก่ มณฑลทหารบกที่ 12  สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยเขต 3 ปราจีนบุรี  องค์การบริหารส่วนจังหวัดปราจีนบุรี  องค์การบริหารส่วนตำบลท่างาม   เทศบาลเมืองปราจีนบุรี  มูลนิธิสว่างบําเพ็ญธรรมสถาน  สถานีตำรวจภูธรเมืองปราจีนบุรีตำรวจพิสูจน์หลักฐานจังหวัดปราจีนบุรี  การไฟฟ้าส่วนภูมิภาคจังหวัดปราจีนบุรี และ การประปาส่วนภูมิภาคจังหวัดปราจีนบุรี
 ด้านรองผู้ว่าราชการจังหวัดปราจีนบุรี ได้กล่าวเพิ่มเติมว่า การฝึกซ้อมดับเพลิงขั้นต้นและอพยพหนีไฟในเหตุการณ์เสมือนจริงถือเป็นหัวใจสำคัญยิ่งของการระงับเหตุอัคคีภัยเพราะหากได้รับการฝึกซ้อมอย่างถูกวิธี ก็จะทำให้เกิดทักษะความรู้ในการดูแลตนเอง คนใกล้ชิดผู้ป่วย และลดการสูญเสียในชีวิตและทรัพย์สิน ทั้งของตนและของทางราชการได้ จากการฝึกซ้อมทักษะ ในครั้งนี้จะเป็นความรู้ความสามารถที่ติดตัวกับผู้เข้าร่วมฝึกซ้อมโดยเฉพาะ  ถ้าหากว่าต้องตกอยู่ในสถานที่คับขันขึ้นมาจริงๆ ก็สามารถที่จะแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าและสามารถรับมือกับสถานการณ์เลวร้ายได้ในระดับหนึ่ง












ภาพ อลงกร์ คุณกิตติมานนท์
ข่าว​ วัฒนา​ พวง​สมบัติ​

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

มณฑลทหารบกที่ 37 และ สมาคมแม่บ้านทหารบก สาขา มณฑลทหารบกที่ 37 ร่วมพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) การพัฒนาการศึกษาและการพัฒนาส่งเสริมการฝึกอบรมวิชาชีพ ระหว่าง มณฑลทหารบกที่ 37 กับ สถาบันการศึกษา 6 สถาบัน

มณฑลทหารบกที่ 37   และ สมาคมแม่บ้านทหารบก สาขา มณฑลทหารบกที่ 37  ร่วมพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) การพัฒนาการศึกษาและการพัฒนาส่งเ...