วันอังคารที่ 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2563

กรมชลประทาน จัดอบรมเชิงวิชาการครั้งที่ 7 เรื่อง การแก้ไขปัญหาโพรงถํ้าของงานก่อสร้างอุโมงค์ส่งนํ้าช่วงแม่แตง-แม่งัด และ ครั้งที่ 8 เรื่อง แผนเผชิญเหตุในสภาวะฉุกเฉินของการปฏิบัติงานอุโมงค์

กรมชลประทาน  จัดอบรมเชิงวิชาการครั้งที่ 7   เรื่อง การแก้ไขปัญหาโพรงถํ้าของงานก่อสร้างอุโมงค์ส่งนํ้าช่วงแม่แตง-แม่งัด และ ครั้งที่ 8  เรื่อง แผนเผชิญเหตุในสภาวะฉุกเฉินของการปฏิบัติงานอุโมงค์

กรมชลประทาน :   เมื่อวันที่ 4 กุมภาพันธ์ 2563 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า  นายจิตะพล รอดพลอย ผู้อำนวยการสำนักงานก่อสร้างชลประทานขนาดใหญ่ที่ 1 สำนักพัฒนาแหล่งนํ้าขนาดใหญ่   กล่าวว่า   สำนักงานก่อสร้างชลประทานขนาดใหญ่ที่ 1 สำนักพัฒนาแหล่งนํ้าขนาดใหญ่ กรมชลประทาน  ได้จัดอบรมเชิงวิชาการครั้งที่ 7 เรื่่อง การแก้ไขปัญหาโพรงถํ้าของงานก่อสร้างอุโมงค์ส่งนํ้าช่วงแม่แตง-แม่งัด และ ครั้งที่ 8  เรื่อง แผนเผชิญเหตุในสภาวะฉุกเฉินของการปฏิบัติงานอุโมงค์   ระหว่างวันที่ 30-31 มกราคม 2563 ที่ผ่านมา  ดำเนินงานโดยกลุ่มบริษัทที่ปรึกษา ประกอบด้วย บริษัทปัญญา คอนซัลแตนท์ จำกัด , บริษัท พี แอนด์ ซี แมเนจเมนท์ จำกัด และ บริษัท สามารถ เอ็นจีเนียริ่ง คอนซัลแตนท์ จำกัด ณ ห้องประชุมโรงแรมกรีนเลค รีสอร์ท ถนนเลียบคลองชลประทาน ต.ช้างเผือก อ.เมืองเชียงใหม่ และ บริเวณอุโมงค์เข้า-ออก หมายเลข 2 บ้านทับเดื่อ ต.อินทขิล อ.แม่แตง จ.เชียงใหม่
ทั้งนี้  เพื่อให้บุคลากรเข้าใจในโครงการและมีความรู้พื้นฐาน มีแนวทางในการออกแบบ การวางแผนงาน และ การก่อสร้างอุโมงค์ส่งนํ้า และ  อาคารประกอบของโครงการ  รวมถึงการป้องกันและระงับเหตุอันตรายหรืออุบัติเหตุจากการทำงานก่อสร้างในระบบความปลอดภัย  ตลอดจนผู้ที่เข้ารับการอบรมสามารถนำเอาองค์ความรู้ที่ได้ไปใช้ประกอบการทำงาน การแก้ไขปัญหาในระบบการจัดการความปลอดภัยในการก่อสร้าง โดยจัดทำแผนเผชิญเหตุอันตราย  หรืออุบัติเหตุจากการทำงานก่อสร้าง
นายจิตะพล   กล่าวอีกว่า   การก่อสร้างอุโมงค์ส่งนํ้าและอาคารประกอบ พร้อมส่วนประกอบอื่น อุโมงค์ส่งนํ้าช่วงแม่แตง-แม่งัด โครงการเพิ่มประมาณนํ้าในอ่างเก็บนํ้าเขื่อนแม่กวงอุดมธารา จังหวัดเชียงใหม่ มีวิธีการก่อสร้างอุโมงค์ 2 วิธี คือ การเจาะอุโมงค์ด้วยวิธีขุดระเบิด และ การเจาะอุโมงค์ด้วยเครื่องเจาะ TBM จากการดำเนินงานก่อสร้างที่ผ่านมา การก่อสร้างอุโมงค์ต้องอาศัยข้อมูลทางธรณีวิทยา การเจาะสำรวจเพิ่มเติม หรือ ข้อมูลอื่น ๆ เพื่อนำมาประกอบพิจารณากำหนดรายละเอียดในการทำงานก่อสร้างอุโมงค์  ซึ่งบ่อยครั้งข้อมูลที่ได้รับมีความคลาดเคลื่อนไปจากรายละเอียดแบบรูปที่กำหนด ทำให้การดำเนินงานก่อสร้างต้องมีการปรับรายละเอียดในการทำงานก่อสร้างให้สอดคล้องกับข้อมูลที่ได้จากสนาม  โดยเฉพาะงานก่อสร้างอุโมงค์ส่งนํ้าด้วยเครื่องเจาะอุโมงค์ TBM ซึ่งเกิดปัญหาในการทำงานก่อสร้างจากการแก้ไขหาวิธีการเพื่อให้เครื่องเจาะ TBM สามารถเจาะผ่านถํ้าโพรงไปได้   นายจิตะพล   กล่าว.


กิตติพงษ์  ทุนเพิ่ม  ทีมข่าวภูมิภาค.

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น