วันอังคารที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2562

รองแม่ทัพภาคที่ 3 แถลงการปิด กองบัญชาการควบคุมสถานการณ์หมอกควันหมอกควันภาคเหนือ กองทัพภาคที่ 3 ส่วนหน้า กับผลสัมฤทธิ์ลดควัน งดเผา ....จาก Action Plan..!!!!

รองแม่ทัพภาคที่ 3 แถลงการปิด กองบัญชาการควบคุมสถานการณ์หมอกควันหมอกควันภาคเหนือ กองทัพภาคที่ 3 ส่วนหน้า กับผลสัมฤทธิ์ลดควัน งดเผา ....จาก Action Plan..!!!!


พลตรี บัญชา   ดุริยพันธ์  รองแม่ทัพภาคที่ 3 เป็นประธานแถลงการปิด กองบัญชาการควบคุมสถานการณ์ หมอกควันหมอกควันภาคเหนือ กองทัพภาคที่ 3 ส่วนหน้า เมื่อวันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2562 เวลา 13.00  น.  ณ   สโมสรกาวิละ ค่ายกาวิละ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่

 ตามที่ กองทัพภาคที่ 3 จัดตั้ง กองบัญชาการควบคุมสถานการณ์หมอกควันภาคเหนือ กองทัพภาคที่ 3 ส่วนหน้า ตั้งแต่วันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2562 ที่ผ่านมา เนื่องจากในห้วงวันที่ 10 – 13 กุมภาพันธ์ ได้ปรากฏค่าฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM 2.5 ที่เกินค่ามาตรฐานส่งผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชนในพื้นที่ 9 จังหวัดภาคเหนือตอนบน โดยมีสาเหตุมาจาก 3 ปัจจัยหลัก ได้แก่

1. สภาพภูมิประเทศ ที่มีลักษณะเป็นแอ่งกระทะ และมีภูเขาล้อมรอบ
2. สภาพภูมิอากาศ ที่ลมสงบนิ่ง ไม่มีลมพัดผ่าน ที่เอื้ออำนวยการกักตัวของมลพิษ
และ 3. การกระทำของมนุษย์ ซึ่งเป็นสาเหตุหลักที่ทำให้เกิดสถานการณ์ดังกล่าวมากที่สุด

 โดย Action Plan เริ่มปฏิบัติในวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2562 ซึ่งตรวจพบพื้นที่ที่เกิดไฟป่า บริเวณดอยพระบาท อำเภอเมือง จังหวัดลำปาง ได้จัดกำลังภาคพื้น 3 ชุดปฏิบัติการทหารพรานเข้าพื้นที่พร้อมกับ MI 17 เข้าปฏิบัติในการทิ้งน้ำ จำนวน 2 เที่ยว ทั้งนี้ได้จัดหน่วยปฏิบัติการฝนหลวงเคลื่อนที่เร็ว จังหวัดพิษณุโลก จัดอากาศยาน จำนวน 2 ลำ ขึ้นบินทำฝนหลวง ในพื้นที่ อำเภอเถิน จังหวัดลำปาง และ อำเภอลอง จังหวัดแพร่

 และ ต่อเนื่องไปถึงวันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2562 และจัด MI 17 จำนวน 2 เครื่อง ดำเนินการทิ้งน้ำดับไฟป่าในพื้นที่ ที่ตรวจพบ รวม 11 เที่ยวบิน พร้อมกับ หน่วยปฏิบัติการฝนหลวงเคลื่อนที่เร็ว จังหวัดพิษณุโลก บินทำฝนหลวง จนทำให้เกิดฝนตกในพื้นที่ อำเภอเมือง จังหวัดลำปาง และ อำเภอวังชิ้น จังหวัดแพร่ ครอบคลุมพื้นที่เกิดไฟป่า ทั้งนี้ กองทัพอากาศได้ จัด บ.ล. 2 ก (BT - 67) จำนวน 1 เครื่อง บริเวณเหนือพื้นที่ประตูท่าแพ อำเภอเมือง
จังหวัดเชียงใหม่ จำนวน 1 เที่ยว

 ในห้วงวันที่ 17 – 18 กุมภาพันธ์  2562 ได้ทำ Action Plan ในพื้นที่ปฏิบัติการดอยเหลาหลวง อำเภอเมือง จังหวัดลำพูน โดย เป็นการจัดกำลังภาคพื้น พร้อมกับ MI 17 จำนวน 2 เครื่อง ดำเนินการทิ้งน้ำดับไฟป่าในพื้นที่ ในห้วง 2 วัน รวม 39 เที่ยวบิน พร้อมกับ หน่วยปฏิบัติการฝนหลวงเคลื่อนที่เร็ว จังหวัดพิษณุโลก บินทำฝนหลวง ในพื้นที่ จังหวัดแพร่, จังหวัดลำพูน, จังหวัดลำปาง และ จังหวัดเชียงใหม่

ทั้งนี้ กองทัพอากาศได้ จัด บ.ล. 2 ก
(BT - 67) จำนวน 1 เครื่อง ปฏิบัติภารกิจโปรยละอองน้ำ บริเวณเหนือพื้นที่ อำเภอเมือง จังหวัดลำพูน วันละ 4 เที่ยวบิน  ซึ่งจากการปฏิบัติ Action Plan ส่งผลทำให้ค่าฝุ่นละอองในอากาศลดน้อยลง

 ในห้วงวันที่ 19 – 20 กุมภาพันธ์ 2562 ได้ทำ Action Plan ในพื้นที่ปฏิบัติการดอยขะม้อ อำเภอเมือง จังหวัดลำพูน การปฏิบัติยังคงใช้ MI 17 จำนวน 2 เครื่อง ทำการทิ้งน้ำดับไฟป่า รวม 28 เที่ยวบิน ฮ.ท.72 บินลาดตระเวน และ ฮ.ทส.1117 จำนวน 1 เครื่อง ปฏิบัติภารกิจ ทิ้งน้ำดับไฟป่า รวมทั้ง บ.ล. 2 ก (BT - 67) จำนวน 1 เครื่อง ปฏิบัติภารกิจโปรยละอองน้ำ

 ในห้วงวันที่ 21 – 22 กุมภาพันธ์  2562 ได้ทำ Action Plan ในพื้นที่ปฏิบัติการได้ส่ง MI 17 จำนวน 1 เครื่อง ทำการลำเลียงน้ำ จากอ่างเก็บน้ำแม่เส้า ไปทิ้งดับไฟในพื้นที่ดอยผาเมือง รวม 10 เที่ยวบิน โดยมี ฮ.ทส.1117 เสริมการปฏิบัติ

 ทั้งนี้ได้มีการเสริม Action Plan เครื่องฟอกอากาศด้วยม่านน้ำ ที่อ่างเก็บน้ำห้วยตึงเฒ่า พื้นที่ของ
มณฑลทหารบกที่ 33 อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ เป็นการฟอกอากาศเสีย โดยใช้วิธีการดักจับควันละอองพิษ ด้วยม่านน้ำเพื่อเป็นการเพิ่มมวลอากาศดี เข้าสู่แอ่งเชียงใหม่ โดยใช้เส้นชั้นความสูงของห้วยตึงเฒ่า ซึ่งสูงกว่าตัวเมืองเชียงใหม่เป็นตัวส่งผ่านอากาศดี และใช้ลมฝ่ายใต้ที่พัดจากทิศใต้ขึ้นเหนือส่งลม โดยจะเสริมตลอดแนวดอยสุเทพก็จะส่งผลให้มีมวลอากาศดีเข้าสู่แอ่งเชียงใหม่ได้มากขึ้น

 ในวันที่ 23 กุมภาพันธ์  2562. ได้ทำ Action Plan ในพื้นที่ปฏิบัติการ อำเภอจอมทอง, อำเภอฮอด และ อำเภอแม่แจ่ม จังหวัดเชียงใหม่ เนื่องจากได้ทำการลาดตระเวนตรวจพบการลักลอบเผาป่า โดยจัด MI 17 จำนวน  2  เครื่อง ปฏิบัติภารกิจ ทิ้งน้ำดับไฟป่า ในพื้นที่ ข้อพิจารณาเพิ่มเติมที่สำคัญ คือ การประกาศใช้มาตรการควบคุมการเผา โดยจังหวัดรวมการประกาศใช้ในห้วงเวลาเดียวกันทั้งจังหวัด ในลักษณะ Single Command ไม่สามารถแก้ปัญหาได้ ควรแยกกำหนดมาตรการในแต่ละอำเภอตามความจำเป็นที่แตกต่างกัน โดยให้ นายอำเภอ มีอำนาจบริหารจัดการในพื้นที่ 

 ซึ่งในวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2562 ได้ทำ Action Plan ในพื้นที่ปฏิบัติการ อำเภอแม่ออน จังหวัดเชียงใหม่
จัด MI 17 จำนวน 1 เครื่อง ปฏิบัติภารกิจทิ้งน้ำดับไฟป่า รวม ๑๒ เที่ยวบิน และได้ประชุมรับฟังแนวความคิด  Single Command ระดับอำเภอ และหมู่บ้าน “แม่ออนโมเดล” การทำให้พื้นที่เป็นป่าชุ่มชื้นมีน้ำเพียงพอ ทำให้พื้นที่ Hot Spot ลดลง ซึ่งมีปัจจัยแห่งความสำเร็จอยู่ที่หมู่บ้านต้องเข้มแข็งโดยการสร้างการรับรู้และมีส่วนร่วมอย่างตื่นตัว

 จากการดำเนินการดับไฟป่า ให้ใช้หลัก Find Fix Fight Follow เป็นแนวทางแก้ปัญหา และดำรงความต่อเนื่องสร้างความยั่งยืนด้วยระบบป่าเปียก โดยสร้างฝายชะลอความชุ่มชื้น ทำให้เกิดน้ำขังอยู่ในพื้นที่ จนทำให้เกิดการแพร่ความชุ่มชื้น ซึ่งแนวความคิดจะขยายไปยังพื้นที่ปฏิบัติการ (AO) ที่ดอยพระบาท, ดอยขะม้อ, ดอยเหลาหลวง, ดอยผาเมือง, อุทยานแห่งชาติออบหลวง และ อุทยานแห่งชาติแม่โถ

 ภายหลังที่ กองบัญชาการควบคุมสถานการณ์หมอกควันภาคเหนือ กองทัพภาคที่ 3 ส่วนหน้า เข้ามาควบคุมสถานการณ์ตั้งแต่วันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2562 ที่ผ่านมาจนถึงปัจจุบัน ทำให้ทุกภาคส่วนเห็นความสำคัญ และร่วมกันแก้ไขปัญหาอย่างจริงจัง ดังนั้น กองบัญชาการควบคุมสถานการณ์หมอกควันภาคเหนือ กองทัพภาคที่ 3 ส่วนหน้า ที่จัดตั้งอยู่  ณ  สโมสรกาวิละ มณฑลทหารบกที่ 33 ยังคงดำรงการควบคุมสถานการณ์โดยรวมอย่างต่อเนื่อง ต่อไป โดยจะจัดตั้ง กองบัญชาการควบคุมสถานการณ์หมอกควันภาคเหนือ กองทัพภาคที่ 3 ขึ้นที่ กองบัญชาการกองทัพภาคที่ ๓ ค่ายสมเด็จพระนเรศวรมหาราช อำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก ใน 1 มีนาคม 2562 ทั้งนี้ การควบคุมสถานการณ์ในระดับพื้นที่ จะดำเนินการโดยศูนย์อำนวยการป้องกันแก้ไขปัญหาไฟป่าและหมอกควันระดับภาคส่วนหน้า ตามแนวความคิดเดิมที่ได้ดำเนินการมา ต่อไป































ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

มณฑลทหารบกที่ 37 และ สมาคมแม่บ้านทหารบก สาขา มณฑลทหารบกที่ 37 ร่วมพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) การพัฒนาการศึกษาและการพัฒนาส่งเสริมการฝึกอบรมวิชาชีพ ระหว่าง มณฑลทหารบกที่ 37 กับ สถาบันการศึกษา 6 สถาบัน

มณฑลทหารบกที่ 37   และ สมาคมแม่บ้านทหารบก สาขา มณฑลทหารบกที่ 37  ร่วมพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) การพัฒนาการศึกษาและการพัฒนาส่งเ...