วันอังคารที่ 25 กันยายน พ.ศ. 2561

รองแม่ทัพภาคที่ 3 ประชุมคณะกรรมการอำนวยการ ศมพ. อำเภออมก๋อย จังหวัดเชียงใหม่ เพื่อบูรณาการแผนงานแก้ไขปัญหาความมั่นคงในพื้นที่

รองแม่ทัพภาคที่ 3 ประชุมคณะกรรมการอำนวยการ ศมพ. อำเภออมก๋อย จังหวัดเชียงใหม่ เพื่อบูรณาการแผนงานแก้ไขปัญหาความมั่นคงในพื้นที่
 พล.ต.ฉลองชัย  ชัยยะคำ รองแม่ทัพภาคที่ 3 เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการอำนวยการ ศมพ.อ.อมก๋อย ที่จังหวัดเชียงใหม่ รองแม่ทัพภาคที่ 3 กล่าวว่า กองทัพภาคที่ 3 และกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในภาค 3 ได้มอบหมายให้ กองทัพน้อยที่ 3 รับผิดชอบจัดกำลัง ในการแก้ไขปัญหาตามแผนแม่บทการแก้ไขปัญหาฝิ่น ยาเสพติด และความมั่นคง พื้นที่อำเภออมก๋อย จังหวัดเชียงใหม่ ระยะ 5 ปี ตั้งแต่ พ.ศ. 2560 ถึง 2564
ทั้งนี้ศูนย์อำนวยการแก้ไขปัญหาความมั่นคงพื้นที่อำเภออมก๋อย คือ วางแผน อำนวยการ ประสานงาน กำกับดูแล และบูรณาการหน่วยในแผนงาน เพื่อให้บรรลุตามพันธกิจ 5 ประการ ที่กำหนด
ปฏิบัติ ตามแผนปฏิบัติงานโครงการแก้ไขปัญหาความมั่นคงพื้นที่อำเภออมก๋อย ประจำปี 2561
ตามนโยบายและข้อสั่งการของ แม่ทัพภาคที่ 3และประธานคณะกรรมการอำนวยการฯ ให้นำแนวทางพระราชดำริของ ในหลวงรัชกาลที่ 9 มาประยุกต์ใช้ในการตั้งเป็น “อมก๋อยโมเดล”
ผลการดำเนินงานในปีที่ผ่านมา สามารถการลดพื้นที่ปลูกฝิ่น
ในปี 2561 ตรวจพบ และตัดทำลายไร่ฝิ่น ในพื้นที่อำเภออมก๋อยจำนวน 56.6 ไร่ ลดลง 851.43 ไร่ หรือคิดเป็น ลดลง 93.76 เปอร์เซ็นต์ ของพื้นที่ลักลอบปลูกในปี 2560  ที่ผ่านมา
สำหรับการใช้มาตรการทางกฎหมายต่อบุคคลที่เกี่ยวข้องกับฝิ่น ยาเสพติด และปัญหาความมั่นคงในพื้นที่อำเภออมก๋อยและพื้นที่ใกล้เคียงที่เกี่ยวข้อง
ผลการปฏิบัติสามารถดำเนินการได้ 218 คดี คิดเป็น 93 เปอร์เซ็นต์ ของกลาง ยาบ้า 1,218,081เม็ด, ฝิ่น 42.53 กิโลกรัม และไอซ์ 1,700 กรัม เป็นต้น ซึ่งมีจำนวน ผู้ต้องหาเพิ่มขึ้น 78 ราย
สำหรับงานบำบัดรักษา ติดตามฟื้นฟู ผู้เสพและผู้ติดฝิ่น อย่างครบวงจร
การค้นหาผู้เสพและผู้ติดฝิ่นมียอดสะสมในปี 2561 รวมเป็นจำนวน 1,501 ราย เพิ่มขึ้น 96 ราย คิดเป็น 7 เปอร์เซ็นต์ จากปีที่ผ่านมา  และพบว่า มีผู้สามารถเลิกเสพฝิ่นได้ในปี 2561 รวมยอดสะสมเป็น 90 ราย เพิ่มขึ้นจากปีที่ผ่านมา 77 ราย
    ทั้งนี้ ศมพ.อ.อมก๋อยมีการส่งเสริมอาชีพและพัฒนาคุณภาพชีวิตในปี 2561 ดำเนินการได้จำนวน 87 ราย โดยแยกเป็นยอดผู้ผ่านการบำบัดเลิกเสพฝิ่นได้ 67 ราย และเป็นผู้มีศักยภาพที่อยู่ระหว่างบำบัดรักษา บ้านยางเปาอีก 20 ราย จากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และภาคีเครือข่ายที่ผ่านมา เช่น การมอบพันธุ์สุกร และพันธุ์ไก่,      การมอบเมล็ดพันธ์ผัก, และ มอบอุปกรณ์การประกอบอาชีพให้กับผู้ผ่านการบำบัดเป็นต้น
ในส่วนของงานการเสริมสร้างชุมชนเข้มแข็ง อาชีพ และการอนุรักษ์ธรรมชาติ สามารถพัฒนาและส่งเสริมอาชีพ และรายได้ทดแทนฝิ่น มีเกษตรกรเข้าร่วมกิจกรรม 2,141 ราย หรือคิดเป็นมูลค่ารวม 38 ล้านบาท





ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

มณฑลทหารบกที่ 37 และ สมาคมแม่บ้านทหารบก สาขา มณฑลทหารบกที่ 37 ร่วมพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) การพัฒนาการศึกษาและการพัฒนาส่งเสริมการฝึกอบรมวิชาชีพ ระหว่าง มณฑลทหารบกที่ 37 กับ สถาบันการศึกษา 6 สถาบัน

มณฑลทหารบกที่ 37   และ สมาคมแม่บ้านทหารบก สาขา มณฑลทหารบกที่ 37  ร่วมพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) การพัฒนาการศึกษาและการพัฒนาส่งเ...