ผู้ว่าราชการจังหวัดพะเยา ขานรับนโยบายรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย สั่งการทุกฝ่ายเตรียมพร้อมรับสถานการณ์อุทกภัยในห้วงฤดูฝน 2568
หลังจากประชุมกองบัญชาการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยแห่งชาติเพื่อเตรียมความพร้อมรับสถานการณ์อุทกภัยในห้วงฤดูฝน และติดตามการฝึกการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยปี 2568 ซึ่งจัดขึ้นที่ห้องประชุมกรมป้องกันและบรรเทาทางสาธารณะภัยและผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ โดยมีนายทรงศักดิ์ ทองศรี รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย เป็นประธาน มีนางสาวธีรรัตน์ สำเร็จวาณิชย์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย นายภาสกร บุญลักษม์ อธิบดีกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยแล้วผู้แทนองค์กรที่เกี่ยวข้องร่วมประชุม ส่วนของจังหวัดพะเยานายรัฐพล นราดศร ผู้ว่าราชการจังหวัดพะเยา พร้อมด้วย มณฑลทหารบกที่ 34 หัวหน้าหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและผู้แทนเข้าร่วมประชุม ปีนี้คาดการณ์จะมีฝนมากกว่าปีที่แล้วเฉลี่ยประมาณร้อยละ 5 โดยประเทศไทยตอนบนจะมีพายุหมุนเขตร้อนเข้ามามีผลกระทบประมาณ 1-2 ลูก ทั้งนี้รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทยเน้นย้ำให้เฝ้าระวังโคลนถล่ม น้ำป่าไหลหลาก และน้ำท่วมให้เฝ้าระวังพื้นที่ท่วมซ้ำซาก ให้มีการฝึกเจ้าหน้าที่ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยให้แล้วเสร็จภายในเดือนนี้ อีกทั้งถอดบทเรียน ให้ทุกจังหวัดรวบรวมพื้นที่เสี่ยงดินสไลด์ และใช้ประสิทธิภาพของเซลล์บอร์ดแคส โดยขอให้ทำความเข้าใจกับประชาชน อีกทั้ง download application ของสถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำ (สสน.) ให้ประชาชนดาวน์โหลดลงมือถือ ซึ่งประชาชนต้องรู้จุดอพยพและการเตรียมตัวก่อนเกิดภัยอย่างครอบคลุม ทั่วถึง โดยให้ประชาสัมพันธ์ทุกช่องทาง ทั้งสื่อโซเชียล หอกระจายข่าว สื่อหลัก สื่อบุคคลและอื่นๆ ด้าน นายรัฐพล นราดิศร ผู้ว่าราชการจังหวัดพะเยา กล่าวภายหลังการประชุมว่า ขอให้นายอำเภอทุกอำเภอจัดทำแผน เรียกประชุมผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น สำรวจพื้นที่เสี่ยงดินโคลนถล่ม และดินสไลด์ซึ่งในจังหวัดพะเยามีทั้ง 9 อำเภอ 51 ตำบล กว่า 300 หมู่บ้าน ประชาชนทุกคนจะต้องทราบทั้งสถานที่อพยพ มีแผนเผชิญเหตุร่วมกัน และปฏิบัติตนถูกเมื่อเกิดภัย ต้องเตรียมทั้ง คน วัสดุ อุปกรณ์ เตรียมศูนย์อพยพพักพิง แจ้งพื้นที่เสี่ยง วางแผนการแจ้งเตือนประชาชน โดยยกตัวอย่างบ้านแม่กา แถวๆหน้ามหาวิทยาลัยพะเยา และพื้นที่อำเภอดอกคำใต้ ซึ่งดำเนินการวางแผนอย่างรอบคอบรัดกุมเป็นอย่างดี นอกจากนี้ขอให้สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดพะเยา ประสานภาคเอกชนที่มีอุปกรณ์ช่วยเหลือ เช่น สกู๊ตเตอร์ หรืออากาศยานไร้คนขับ หรือโดรนเพื่อการเกษตร ซึ่งหากเกิดเหตุจะสามารถช่วยเหลือประชาชนได้อย่างรวดเร็ว ทั่วถึง และมีประสิทธิภาพ นอกจากนี้ให้บริหารจัดการน้ำในกว๊านพะเยาให้เกิดความสัมพันธ์ทั้งปริมาณที่กักเก็บและปริมาณน้ำที่จะปล่อย โดยจังหวัดพะเยามีลุ่มน้ำสำคัญที่ต้องเฝ้าระวัง คือ ลุ่มน้ำอิง กับลุ่มน้ำยม โดยเฉพาะลุ่มน้ำยมอยู่ในเขตอำเภอเชียงคำ อำเภอปง และอำเภอเชียงม่วน ซึ่งต้องทำความเข้าใจกับประชาชนที่ส่วนใหญ่มีกลุ่มชาติพันธุ์อาศัยอยู่ในพื้นที่จำนวนมากต้องทำความเข้าใจกับประชาชนแต่เนิ่นๆก่อนเกิดภัย
ภาพข่าว- วีดีโอ
-ศูนย์ประชาสัมพันธ์กองทัพภาคที่ 3 ธีรพงศ์ นาคแนม (นกพิราบศูนย์ข่าว
จังหวัดพิจิตร) โทร 0831671688 รายงาน**
คนรู้จักพัก ทว่าไม่รู้จักพอ ** จิตอาสาพัฒนา
เราทำความดีด้วยหัวใจ....ร่วมใจกันพัฒนา
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น