รองแม่ทัพภาคที่ 3 ในฐานะ รองผู้อำนวยการศูนย์อำนวยการป้องกันและแก้ไขปัญหาไฟป่าหมอกควันและฝุ่นละอองภาค 3 ประชุมหารือบูรณาการร่วมภาคีเครือข่าย แก้ไขปัญหาไฟป่าและฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM2.5 แบบบูรณาการในพื้นที่ 17 จังหวัดภาคเหนือ
เมื่อวันที่ 25 เมษายน 2568 พลโท กิตติพงษ์ แจ่มสุวรรณ แม่ทัพภาคที่ 3/ ผู้อำนวยการศูนย์อำนวยการป้องกันและแก้ไขปัญหาไฟป่าหมอกควันและฝุ่นละอองภาค 3 มอบหมายให้ พลตรี ชายแดน กฤษณสุวรรณ รองแม่ทัพภาคที่ 3/ รองผู้อำนวยการศูนย์อำนวยการป้องกันและแก้ไขปัญหาไฟป่าหมอกควันและฝุ่นละอองภาค 3 เป็นประธานการประชุมร่วมภาคีเครือข่ายการสนับสนุนการปฏิบัติการบินควบคุมไฟป่า (ภาคอากาศ) กับส่วนสนับสนุนการปฏิบัติการบินควบคุมไฟป่า กองทัพอากาศ (ส่วนหน้า) และหน่วยบินที่เกี่ยวข้อง เพื่อร่วมกันวางแผนการใช้อากาศยานในการบินลาดตระเวนและพิจารณาเป้าหมายในการบินควบคุมไฟป่า ณ กองบิน 41 จ.เชียงใหม่ต่อมา แม่ทัพภาคที่ 3/ ผู้อำนวยการศูนย์อำนวยการป้องกันและแก้ไขปัญหาไฟป่าหมอกควันและฝุ่นละอองภาค 3 มอบหมายให้ รองแม่ทัพภาคที่ 3/ รองผู้อำนวยการศูนย์อำนวยการป้องกันและแก้ไขปัญหาไฟป่าหมอกควันและฝุ่นละอองภาค 3 เป็นประธานร่วมกับ นายศิวกร บัวป้อง รองผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ ในการประชุมคณะกรรมการแก้ไขปัญหาไฟป่าและฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM2.5 แบบบูรณาการจังหวัดเชียงไหม่ ครั้งที่ 14/2568 เพื่อติดตามการปฏิบัติงานและสถานการณ์ประจำสัปดาห์ณ ห้องปฏิบัติการ องค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงใหม่ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ โดยมี กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในจังหวัดเชียงใหม่ และส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง เข้าร่วมการประชุม
ซึ่งสามารถ สรุปประเด็นสำคัญ ดังนี้
1 ข้อมูลผู้เสียชีวิตและผู้บาดเจ็บจากการปฏิบัติภารกิจป้องกันและดับไฟป่า ปี 2568
2 รายงานสถานการณ์ไฟป่าหมอกควันและฝุ่นละอองในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา
- จุดความร้อน (Hotspot) และ 3 อำเภอที่เกิดจุดความร้อนสุงสัปดาห์
- ค่าคุณภาพอากาในพื้นที่
- คาดการพยากรณ์อากาศ
3 สรุปผลการดำเนินงานในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา
- การป้องกันและแก้ไขปัญหาไฟป่าในพื้นที่ป่าอนุรักษ์/ป่าสงวน ฯ
- การป้องกันและแก้ไขปัญหาการเผาในพื้นที่การเกษตร
- การป้องกันและแก้ไขปัญทาการเผา และฝุ่น ในพื้นที่ชุมชน ขนส่ง อุตสาหกรรมและกิจการโยธาอื่น ๆ
- การสนับสนุนการป้องกันและแก้ไขปัญหาไฟป่า
- การดำเนินคดีกับผู้ลักลอบเผาในที่โล่งและเผาป่า
- การป้องกันและลดผลกระทบด้านสาธารณสุข
- ศูนย์ประชาสัมพันธ์ร่วม (JIC)
กำหนดประชุมฯ ในครั้งต่อไป จัดการประชุมออนไลน์ทาง Vtc (ถ้าสถานการณ์ปกติ) สำหรับ วัน เวลา ฝ่ายเลขาฯ จะแจ้งให้ทราบต่อไป นอกจากนี้ ศูนย์อำนวยการป้องกันและแก้ไขปัญหาไฟป่าหมอกควันและฝุ่นละอองภาค 3 บูรณาการร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง สนับสนุน การบินของอากาศยานแบบ kodiak 100 ในพื้นที่ จังหวัดเชียงใหม่ และ จังหวัดแม่ฮ่องสอน ตรวจพบจุดความร้อนจำนวน 7 จุด ประกอบด้วย ตรวจพบไฟป่าบริเวณ ไฟป่า บริเวณ อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่ อำเภอเชียงดาวจังหวัดเชียงใหม่ อำเภอแม่แจ่มและอำเภอฮอดจังหวัดเชียงใหม่ อำเภอแม่สะเรียง จังหวัดแม่ฮ่องสอน อำเภอแม่ลาน้อยและอำเภอขุนยวมจังหวัดแม่ฮ่องสอน อำเภอเมืองแม่ฮ่องสอน อำเภอปางมะผ้าจังหวัดแม่ฮ่องสอน ผลการปฏิบัติ มีอุปสรรคคือหมอกควันหนาแน่น ทำให้การพิสูจน์ทราบทำได้ยาก ขณะที่ ศูนย์อำนวยการป้องกันและแก้ไขปัญหาไฟป่าหมอกควันและฝุ่นละอองภาค 3 ร่วมกับ กรมฝนหลวงและการบินเกษตร โดยหน่วยดัดแปรสภาพอากาศเพื่อบรรเทาปัญหาฝุ่นละอองขนาดเล็ก(PM2.5) จังหวัดเชียงใหม่ จังหวัดแพร่ และจังหวัดพิษณุโลก สนับสนุนอากาศยาน ปฏิบัติภารกิจบรรเทาหมอกควันและสถานการณ์ฝุ่นละอองขนาดเล็ก (PM2.5) ให้กับ ศูนย์อำนวยการป้องกันและแก้ไขปัญหาไฟป่าหมอกควันและฝุ่นละอองภาค 3 ในพื้นที่ประสบปัญหาหมอกควันและฝุ่นละอองขนาดเล็ก (PM2.5) เทคนิคการก่อเมฆและเลี้ยงเมฆเพื่อดูดซับและระบายฝุ่นละออง บริเวณพื้นที่ประสบปัญหาหมอกควันและฝุ่นละอองขนาดเล็ก (PM2.5) พื้นที่ประสบปัญหาหมอกควันและฝุ่นละอองขนาดเล็ก (PM2.5) พื้นที่ประสบปัญหาหมอกควันและฝุ่นละอองขนาดเล็ก (PM2.5) พื้นที่ประสบปัญหาหมอกควันและฝุ่นละอองขนาดเล็ก (PM2.5) พื้นที่ จ.เชียงใหม่ และพื้นที่ใกล้เคียง โดยใช้เครื่องบินเกษตร CASA จำนวน 6 ลำ และ CN จำนวน 1 ลำ (รวม 10 เที่ยวบิน) ศูนย์อำนวยการป้องกันและแก้ไขปัญหาไฟป่าหมอกควันและฝุ่นละอองภาค 3 ร่วมกับ กองทัพอากาศ จากหน่วยบิน 4611 ฝูงบิน 461 กองบิน 46 จว.พิษณุโลก สนับสนุนอากาศยาน อากาศยาน บ.ล.2 ก (BT-67) ภารกิจบินทิ้งน้ำควบคุมไฟป่าสนับสนุนการปฏิบัติภารกิจแก้ไขปัญหาไฟป่าหมอกควันและฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM 2.5 ในพื้นที่ 17 จังหวัดภาคเหนือ ร่วมกับกองทัพภาคที่ 3 ในพื้นที่ ต.ผาบ่อง อ.เมือง จว.แม่ฮ่องสอน ระยะเวลาปฏิบัติภารกิจ 1.4 ชั่วโมง ทิ้งน้ำ จำนวน 1 เที่ยวบิน 3,000 ลิตร และ พื้นที่ อ.เวียงป่าเป้า จว.เชียงราย ระยะเวลาปฏิบัติภารกิจ 1.0 ชั่วโมง ทิ้งน้ำ จำนวน 1 เที่ยวบิน 3,000 ลิตร รวม ระยะเวลาปฏิบัติภารกิจ 2.4 ชั่วโมง ทิ้งน้ำ จำนวน 2 เที่ยวบิน 6,000 ลิตร และกองทัพอากาศ ได้สนับสนุนอากาศยาน แบบ บ.ตฝ.20 ก (DA-42 M-NG) จากหน่วยบิน 4021 ฝูงบิน 402 กองบิน 4 จว.นครสวรรค์ พร้อมติดตั้งกล้องตรวจจับความร้อน MX-15 HDI ที่มีขีดความสามารถสูงในการตรวจจับความร้อน และกลุ่มควันไฟได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทำการบินลาดตระเวนค้นหากลุ่มจุดความร้อนในพื้นที่ภาคเหนือโดยตั้งฐานปฏิบัติการที่กองบิน 41 จว.เชียงใหม่ ภารกิจบินลาดตระเวนค้นหากลุ่มจุดความร้อน สนับสนุนการปฏิบัติภารกิจแก้ไขปัญหาไฟป่าหมอกควัน และฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM 2.5 ในพื้นที่ 17 จังหวัดภาคเหนือร่วมกับ กองทัพภาคที่ 3 เวลาเส้นทางบิน กองบิน 41 – .อ.สันทราย, อ.พร้าว, อ.ไชยปราการ, อ.เชียงดาว จว.เชียงใหม่ และ อ.เวียงป่าเป้า จว.เชียงราย - กองบิน 41 รวมเวลาปฏิบัติภารกิจ 1.7 ชั่วโมง พบจุดความร้อนในพื้นที่เป้าหมายจำนวน 21 กลุ่มเป้าหมาย
ภาพข่าว- วีดีโอ
-ศูนย์ประชาสัมพันธ์กองทัพภาคที่ 3 ธีรพงศ์ นาคแนม (นกพิราบศูนย์ข่าว
จังหวัดพิจิตร) โทร 0831671688 รายงาน**
คนรู้จักพัก ทว่าไม่รู้จักพอ ** จิตอาสาพัฒนา
เราทำความดีด้วยหัวใจ....ร่วมใจกันพัฒนา
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น