วันศุกร์ที่ 3 พฤษภาคม พ.ศ. 2567

ผู้ใหญ่น้อย หญิงแกร่งท่าชัย ความสำเร็จอ้อยโรงงานปลอดเผาครบวงจร  


นางรัตนาภรณ์ พลชะนะ (ผู้ใหญ่น้อย)
เกษตรกรปราดเปรื่องต้นแบบ (Smart Farmer) ผู้ใหญ่บ้านท่าชัย หมู่ที่ 5 ตำบลท่าชัย อำเภอศรีสัชนาลัย จังหวัดสุโขทัย ประสบความสำเร็จในการประกอบอาชีพทำอ้อยโรงงาน ภายใต้แนวคิด “ลดต้นทุน เพิ่มผลผลิต เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม” ได้รับรางวัลรองชนะเลิศ อันดับ 1 ประเภทเกษตรกรดีเด่น สาขาอาชีพทำไร่ ในการประกวดเกษตรกรดีเด่นระดับเขต ประจำปี พ.ศ. 2567 โดดเด่นในการนำเทคโนโลยีและเครื่องจักรกลสมัยใหม่มาใช้ในการผลิตอ้อยโรงงานแบบครบวงจร ตั้งแต่กระบวนการเตรียมดิน การปลูก การเก็บเกี่ยว และหลังการเก็บเกี่ยว จำหน่ายทุกส่วนของอ้อยโรงงานทั้งลำ ท่อนพันธุ์ ใบอ้อย จากจำเลยของสังคม สู่แกนนำรณรงค์หยุดเผาตำบลท่าชัย เพราะทุกขั้นตอนไม่เผา 100 แรกเริ่ม พ.ศ. 2532 ผู้ใหญ่น้อยทำอ้อยครั้งแรก 15 ไร่ ใช้วิธีดั้งเดิมโดยใช้แรงงานคน จุดไฟเผาเพราะสะดวกในการจัดการ ต่อมาผู้ใหญ่น้อยเริ่มนำเทคโนโลยีสมัยใหม่มาใช้ โดยลงทุนซื้อเครื่องจักรกลและอุปกรณ์ที่จำเป็นสำหรับการผลิตอ้อย ทำให้ไม่ต้องจุดไฟเผาซังอ้อย ประกอบกับเป็นหัวไวใจสู้ศึกษาและทดลองวิธีลดต้นทุนการผลิตอ้อยโรงงาน ริเริ่มทดลองปลูกอ้อยแบบร่องเดี่ยวจนประสบความสำเร็จเป็นแบบอย่างที่ดีสำหรับเกษตรกรรายอื่นๆ  ลดต้นทุน ผู้ใหญ่น้อยก้าวสู่เกษตรสมัยใหม่ ใช้เทคโนโลยีและเครื่องจักรกลในการผลิตอ้อยโรงงานทุกขั้นตอน ผลผลิตเคยได้มากที่สุด 25 ตัน/ไร่ ไม่ต่ำกว่า 10 ตัน/ไร่ ความหวานเฉลี่ย 12.30% สูงสุด 15.41% ใช้ระบบน้ำหยดโซล่าเซลล์ ปรับเปลี่ยนวิธีการปลูกอ้อย จาก 7 ขั้นตอน เหลือเพียง 3 ขั้นตอน รายละเอียด ดังนี้

7 ขั้นตอน ผาน7 ผาน3 ผาน7 โรโตรี่ ผาน3 ผาน7 โรโตรี่ (2,960 บาท)

5 ขั้นตอน 22 จาน 5 ขา 5 ขา 22 จาน มินิคอมบาย (2,300 บาท)

3 ขั้นตอน CRB CRB มินิคอมบาย (1,800 บาท)

ทำให้ลดต้นทุนการผลิต 1,160 บาทต่อไร่ คิดเป็น 39 % 

อีกทั้งการปลูกอ้อยแบบร่องเดี่ยว ลดการใช้สารเคมีที่ในการฆ่าหญ้าและคุมหญ้า ลดปัญหาการเกิดโรคและแมลงศัตรูอ้อย ลดการใช้ปุ๋ยเคมี ประหยัดพันธุ์อ้อย ลดต้นทุนด้านแรงงาน เพิ่มผลผลิตการปลูกอ้อยแบบร่องเดี่ยวเครื่องจักรกลเข้าถึงร่องง่าย สะดวกในการจัดการ เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ทุกกระบวนการปลอดการเผา 100% มีการเพิ่มอินทรียวัตถุในดินโดยใช้เครื่องกวาดใบอ้อยให้เหลือเศษใบอ้อยในแปลง 20 % คลุมดินเพื่อรักษาความชื้นในดิน ส่งผลให้ดินร่วนซุยพร้อมปลูกอ้อยรุ่นต่อไปโดยสำนักงานเกษตรจังหวัดสุโขทัยร่วมกับสำนักงานเกษตรอำเภอศรีสัชนาลัยส่งเสริมการใช้แมลงหางหนีบ เป็นแมลงห้ำที่ช่วยควบคุมประชากรของแมลงศัตรูพืชอ้อย เช่น หนอนกออ้อย ทั้งนี้ นายวีระ บัวจันทร์ เกษตรจังหวัดสุโขทัย กล่าวว่า กรมส่งเสริมการเกษตร โดยเกษตรจังหวัดสุโขทัย และเกษตรอำเภอศรีสัชนาลัย ได้สนับสนุนการเกษตรสมัยใหม่โดยใช้เทคโนโลยี ซึ่งการปลูกอ้อยโรงงานแบบผู้ใหญ่น้อย ไม่เผา100เปอร์เซ้นต์ เน้นการผลิตอ้อยอย่างยั่งยืนและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม สามารถปกป้องผิวดิน ลดปัญหามลพิษทางอากาศ รวมทั้งส่งเสริมความเป็นอยู่ที่ดีของชุมชนในระยะยาว









@แบงค์"สุโขทัย" 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

สมาคมพิทักษ์แผ่นดินไทย”(ศ.ป.พ.๓) ตำบล แก่งหางแมว อำเภอ แก่งหางแมว จังหวัด จันทบุรี ได้ร่วมจัดชุดยังชีพมอบให้กับครอบครัวผู้มีรายได้น้อย

วันที่ ๒๔ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๕๖๗ “สมาคมพิทักษ์แผ่นดินไทย”(ศ.ป.พ.๓) ตำบล แก่งหางแมว อำเภอ แก่งหางแมว จังหวัด จันทบุรี ได้ร่วมจัดชุดยังชีพมอบให้กั...