วันพฤหัสบดีที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2567

ผู้ว่าฯ เชียงใหม่ ตรวจเยี่ยมโครงการหยุดเผาพื้นที่การเกษตร ส่งเสริมการทำปุ๋ยหมัก และไถกลบตอซัง ที่ อ.แม่แจ่ม

ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ ตรวจเยี่ยมโครงการหยุดเผาพื้นที่การเกษตร ส่งเสริมการทำปุ๋ยหมัก และไถกลบตอซัง ที่ อำเภอแม่แจ่ม ตั้งเป้าลดเศษเปลือกและซังข้าวโพดนำไปทำปุ๋ยหมักให้ได้ 10,000 ตัน พร้อมให้การสนับสนุนทุกช่องทาง เพื่อลดลดการเผาให้ได้มากที่สุด คืนลมหายใจที่ดีให้ชาวเชียงใหม่

เมื่อวันที่ 31 มกราคม 2567 นายนิรัตน์ พงษ์สิทธิถาวร ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่  พร้อมด้วยจิตอาสาพระราชทาน ส่วนราชการ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ลงพื้นที่ไปตรวจเยี่ยมการดำเนิน “โครงการหยุดเผาพื้นที่การเกษตร ส่งเสริมการทำปุ๋ยหมัก และไถกลบตอซัง” ในพื้นที่ตำบลช่างเคิ่ง อำเภอแม่แจ่ม จังหวัดเชียงใหม่  ซึ่งเป็นการนำเศษเปลือกและซังข้าวโพดออกจากพื้นที่  เพื่อนำไปใช้ประโยชน์ในด้านต่างๆ แทนการเผา  ไม่ว่าจะเป็นการนำไปเป็นเชื้อเพลิง นำไปเป็นอาหารสัตว์ และที่สำคัญ คือ นำไปทำเป็นปุ๋ยหมัก โดย นายนิรัตน์ พงษ์สิทธิถาวร ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ ได้เดินทางไปตรวจเยี่ยมจุดโม่ข้าวโพดของ นายสมพงษ์ ธนะเพิ่ม ในพื้นที่บ้านห้วย หมู่ 19 ตำบลช่างเคิ่ง  ซึ่งเป็นจุดที่มีกองเศษเปลือกและซังข้าวโพดอยู่เป็นจำนวนมาก  หลังผ่านการโม่เพื่อคัดแยกเมล็ดข้าวโพดออกไปแล้ว  ซึ่งในบางส่วนก็มีภาคเอกชนเข้ามารับซื้อเพื่อนำไปทำเป็นเชื้อเพลิง และมีเกษตรกรนำไปเป็นอาหารสัตว์บ้างแล้ว  ต่อมาได้ไปดูกระบวนการอัดก้อนเปลือกข้าวโพด  เพื่อให้ง่ายต่อการลำเลียงออกจากพื้นที่  โดยได้รับการสนับสนุนรถยนต์และกำลังพลทหารและจิตอาสาพระราชทาน จากมณฑลทหารบกที่ 33 กองทัพบก  มาช่วยกันขนเศษเปลือกข้าวโพดออกจากพื้นที่  จากนั้นได้ไปตรวจเยี่ยมพื้นที่ทำปุ๋ยหมัก ที่ จุดทำปุ๋ยหมักบ้านแม่ปาน หมู่ที่ 10 ตำบลช่างเคิ่ง  ซึ่งทางกรมพัฒนาที่ดินและชาวบ้านในกลุ่มวิสาหกิจชุมชนบ้านแม่ปาน-สันเกี๋ยง  ได้ร่วมกันนำเศษเปลือกและซังข้าวโพดมาทำเป็นปุ๋ยหมัก  นาย นิรัตน์ พงษ์สิทธิถาวร ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่  กล่าวว่า  อำเภอแม่แจ่มมีพื้นที่ปลูกข้าวโพดกว่า 150,000 ไร่  หลังจากเก็บเกี่ยวและคัดแยกผลผลิตเสร็จแล้วจะมีเศษเปลือกข้าวโพดและซังข้าวโพดหลงเหลืออยู่เป็นจำนวนมาก  ซึ่งขณะนี้คาดว่ามีอยู่ประมาณ 30,000 ตัน  หากไม่มีการนำไปใช้ประโยชน์ เศษวัสดุเหล่านี้ก็จะเป็นเชื้อเพลิงชั้นดีในการเผาทิ้ง จนเป็นต้นเหตุของการเกิดหมอกควันและฝุ่นละออง PM 2.5 เหมือนเช่นที่ผ่านๆ มา  ดังนั้น จึงต้องขนย้ายเศษวัสดุเหล่านี้ออกจากพื้นที่ให้หมดไม่ให้หลงเหลือเป็นเชื้อเพลิงได้  แล้วนำไปจำหน่ายและใช้ประโยชน์ในด้านอื่นๆ แทน  โดยอาจจะใช้รถตักออกไปได้เลย หรืออาจจะผ่านการอัดก้อนก่อนเพื่อให้ง่ายต่อการขนย้าย  หากจุดใดที่มีภาคเอกชนมารับซื้ออยู่แล้วก็จะให้ทางภาคเอกชนดำเนินการไป  แต่ส่วนจุดใดที่ยังไม่มีภาคเอกชนเข้าถึง  ทางจังหวัดจะส่งรถอัดก้อนเข้ามาช่วยสนับสนุน  และหากยังติดขัดในเรื่องของการขนส่ง  ก็จะส่งรถของหน่วยงานราชการต่างๆ รวมถึงนำรถทหารและกำลังพลทหารเข้าไปช่วยขนย้ายไปยังจุดรับซื้อ  และสุดท้ายหากยังมีเศษวัสดุหลงเหลือที่นอกเหนือจากการรับซื้อ  ก็จะให้ทางกรมพัฒนาที่ดินร่วมกับชาวบ้าน  นำเศษวัสดุเหล่านี้เข้าเข้าสู่กระบวนการทำปุ๋ยหมัก  โดยตั้งเป้าหมายให้ลดเศษวัสดุในส่วนที่เหลือให้ได้ 10,000 ตัน  โดยจะนำเครื่องจักรกล สารปรุงดิน และกำลังคนเข้ามาช่วยสนับสนุน  จากนั้นก็จะนำปุ๋ยหมักที่ได้ไปแจกจ่ายให้กับเกษตรกรนำไปใช้บำรุงต้นไม้ในช่วงฤดูเพาะปลูกในรอบถัดไป  ซึ่งทุกวิธีการที่ทำอยู่นี้ก็เพื่อที่จะหยุดการเผาและลดการเผาให้มากที่สุด  ทำให้ชาวบ้านได้เห็นประโยชน์และให้ความร่วมมือ  เพื่อให้จังหวัดเชียงใหม่ปลอดการเผาและมีลมหายใจที่สะอาดสำหรับพี่น้องประชาชนชาวเชียงใหม่ทุกคน  จะเห็นได้จากในรอบเดือนมกราคม จังหวัดเชียงใหม่สามารถลดการเผาไปได้กว่า 80 เปอร์เซ็นต์ เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปี 2566 ที่ผ่านมา  ซึ่งเกิดจากความตั้งใจและความร่วมมือร่วมใจของทุกภาคส่วน





















ภาพข่าว- วีดีโอ -ศูนย์ประชาสัมพันธ์กองทัพภาคที่ 3 ธีรพงศ์ นาคแนม (นกพิราบศูนย์ข่าว จังหวัดพิจิตร)  ศูนย์ประสานงานข่าว โทร 0831671688 รายงาน** คนรู้จักพัก ทว่าไม่รู้จักพอ ** จิตอาสาพัฒนา เราทำความดีด้วยหัวใจ....ร่วมใจกันพัฒนา


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

เลขาธิการกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในภาค 3 ติดตามการป้องกันและแก้ไขปัญหาไฟป่าหมอกควัน ฝุ่นละออง (PM 2.5) ปี 2568 ในพื้นที่ของกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในจังหวัดสุโขทัย

เลขาธิการกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในภาค 3 ติดตามการป้องกันและแก้ไขปัญหาไฟป่าหมอกควัน ฝุ่นละออง (PM 2.5) ปี 2568 ในพื้นที่ของกองอำนวยการร...