วันพุธที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2566

งานแถลงข่าวเปิดตัวศูนย์ฝึกทักษะ Geopark and Fossil Academy ที่แรกและแห่งเดียวของประเทศไทย    


วันอังคารที่ 28 กุมภาพันธ์ 2566  สถาบันวิจัยไม้กลายเป็นหินฯมหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา ได้กำหนดจัดงานแถลงข่าวเปิดตัวศูนย์ฝึกทักษะ Geopark and Fossil Academy ที่แรกและแห่งเดียวของประเทศไทย ณ ห้องประชุมโคราช 2 โรงแรมเซ็นทารา โคราช อำเภอเมืองนครราชสีมา จังหวัดนครราชสีมา โดยได้รับเกียรติจาก รองศาสตราจารย์ ดร.อดิศร  เนาวนนท์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา  ดร.อรนุช  หล่อเพ็ญศรี อธิบดีกรมทรัพยากรธรณี   

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ประเทือง จินตสกุล ผู้อำนวยการอุทยานธรณีโคราช และผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ณัฏฐินี  ทองดี  ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยไม้กลายเป็นหินฯ ร่วมแถลงข่าวเปิดตัวศูนย์ฝึกทักษะ Geopark and Fossil Academy ที่แรกและแห่งเดียวของประเทศไทย ซึ่งเป็นการสร้างความร่วมมือระหว่างกรมทรัพยากรธรณี  มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา สถาบันวิจัยไม้กลายเป็นหินฯ  


อุทยานธรณีโคราช และเครือข่ายจีโอพาร์คประเทศไทย  ได้พัฒนาหลักสูตรที่เกี่ยวข้องกับจีโอพาร์ค โคราชจีโอพาร์ค  การบริหารจัดการจีโอพาร์ค การท่องเที่ยวเชิงภูมิศาสตร์ Geo-tourism และการอนุรักษ์ฟอสซิล โดยจัดหลักสูตรการเรียนการสอนผ่านระบบออนไลน์ (Online) และออนไซต์ (Onsite) ให้แก่บุคลากรและผู้สนใจด้านจีโอพาร์ค  ทั้งภาคประชาชน  ภาครัฐ และภาคเอกชน  ให้มีความรู้ความเข้าใจ เสริมสร้างทักษะ และสร้างคนจีโอพาร์ค (Geoparker) โดยศูนย์ฝึกทักษะ Geopark and Fossil Academy ได้พัฒนาหลักสูตร จำนวน 4 หลักสูตร ดังนี้ 

หลักสูตรที่ 1 จีโอพาร์ค (Geopark)  เป็นหลักสูตรที่ผู้เรียนจะได้รู้จักจีโอพาร์ค ทรัพยากร 

อันทรงคุณค่า  การดูรักษาพื้นที่จีโอพาร์คอย่างไรให้ยั่งยืน  เรียนรู้การวางแผน  การบริหารจัดการ 

จีโอพาร์คอย่างถูกวิธีและเกิดความยั่งยืน พร้อมทั้งเปิดประสบการณ์เส้นทางสู่การเป็นจีโอพาร์คโลก  กระบวนการการเตรียมความพร้อม การจัดเตรียมเอกสารเพื่อสมัครเป็น The UNESCO Global Geopark  

หลักสูตรที่ 2  โคราชจีโอพาร์ค (Khorat Geopark)  เป็นหลักสูตรที่เรียนรู้ทั้งเบื้องลึก เบื้องหลัง  และกลไกสำคัญของการขับเคลื่อนจีโอพาร์คอย่างยั่งยืน ต่อยอด เพิ่มคุณค่า หาจุดต่าง สร้างเครือข่ายทั้งในและต่างประเทศ ต่อยอดสู่การพัฒนาท้องถิ่นอย่างยั่งยืน  

หลักสูตรที่ 3 การจัดการท่องเที่ยวเชิงภูมิศาสตร์อย่างยั่งยืน (Sustainable Geo-tourism  

Management)  เป็นหลักสูตรมิติใหม่ของการท่องเที่ยวที่ยั่งยืน ความสำเร็จของการท่องเที่ยว  เข้าใจตลาดนักเดินทาง  การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมไปตามโลกที่มีการเปลี่ยนแปลง  เรียนรู้พฤติกรรมก้าวกระโดดในโลกใหม่  เปิดประสบการณ์  สร้างจินตนาการและความประทับใจให้กับการท่องเที่ยวในแหล่งจีโอพาร์ค  

หลักสูตรที่ 4  การอนุรักษ์และปกป้องทรัพยากรธรณี ธรรมชาติและวัฒนธรรมในพื้นที่ 

จีโอพาร์ค  (Conservation and Protection of geological, biological and cultural heritage in the Geopark site) เป็นหลักสูตรหัวใจสำคัญของจีโอพาร์ค  การสร้างความโดดเด่นและความสำคัญของฟอสซิล  การปกป้อง รักษา อนุรักษ์มรดกอันล้ำค่าสู่การพัฒนาจีโอพาร์คอย่างยั่งยืน  และการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีในการบริหารจัดการข้อมูลจีโอพาร์ค  

โดยทั้ง 4 หลักสูตร จะมีการเปิดอบรมให้นักเรียน นักศึกษา ครู  อาจารย์  ชุมชน  ผู้ประกอบการ บุคลากรภาครัฐ  ภาคเอกชน และประชาชนทั่วไปที่สนใจด้านจีโอพาร์คและ 

สามมรดกยูเนสโก ระหว่างวันที่ 7 – 18 มีนาคม 2566  ในรูปแบบออนไซต์ (Onsite) ณ สถาบันวิจัยไม้กลายเป็นหินฯ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา ตำบลสุรนารี  อำเภอเมืองนครราชสีมา  

จังหวัดนครราชสีมา ตามวันและเวลาดังนี้  

หลักสูตรที่ 1 จีโอพาร์ค (Geopark)  ระหว่างวันที่ 7 - 9 มีนาคม 2566 

หลักสูตรที่ 2 โคราชจีโอพาร์ค (Khorat Geopark) ระหว่างวันที่ 10 - 12 มีนาคม 2566 

หลักสูตรที่ 3 การจัดการท่องเที่ยวเชิงภูมิศาสตร์อย่างยั่งยืน Sustainable Geo-tourism  

Management ระหว่างวันที่ 13 - 15 มีนาคม 2566 

หลักสูตรที่ 4 การอนุรักษ์และปกป้องทรัพยากรธรณี ธรรมชาติและวัฒนธรรมในพื้นที่ 

จีโอพาร์ค  (Conservation and Protection of geological, biological and cultural heritage in the Geopark site) สอบถามข้อมูลการอบรมเพิ่มเติมได้ที่ สถาบันวิจัยไม้กลายเป็นหินฯ  

เบอร์โทรศัพท์ 080 1651070  


นอกจากนี้ภายในงานยังมีการประชุมเครือข่ายอุทยานธรณีประเทศไทย การลงนาม 

ความร่วมมือ บันทึกข้อตกลงความร่วมมือทางวิชาการ ระหว่างกรมทรัพยากรธรณี กับมหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา และอุทยานธรณีโคราช โดย ดร.อรนุช  หล่อเพ็ญศรี อธิบดีกรมทรัพยากรธรณี   

รองศาสตราจารย์ ดร.อดิศร  เนาวนนท์  อธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา และ 

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ประเทือง จินตสกุล  ผู้อำนวยการอุทยานธรณีโคราช  เพื่อการสนับสนุนและพัฒนางานด้านวิชาการ การสำรวจ วิจัย และอนุรักษ์ทรัพยากรทางธรณีวิทยา บรรพชีวินวิทยา พิพิธภัณฑ์ซากดึกดำบรรพ์ และอุทยานธรณี หรือด้านอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งส่งเสริมให้เกิด 

ความร่วมมือด้านบุคลากร  วิทยากรหรืออาจารย์พิเศษ เพื่อเพิ่มประสบการณ์การทำงานทางวิชาการร่วมกัน และมีการเสวนา หัวข้อ “Geoparker for Thailand Geopark” โดยได้รับเกียรติจากหน่วยงานภาคีเครือข่ายอุทยานธรณีประเทศไทย ทั้ง 4 ท่าน ได้แก่ 1) ดร.อัปสร สอาดสุด ผู้อำนวยการกองธรณีวิทยา กรมทรัพยากรธรณี  2) รองศาสตราจารย์ ดร.อดิศร เนาวนนท์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา 3) คุณกฤติกา  ชัชวาลย์ ผู้จัดการองค์การบริหาร 

การพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (องค์การมหาชน) หรือ อพท. และ  

4) นายณรงค์ฤทธิ์ ทุ่งปรือ  ผู้อำนวยการอุทยานธรณีโลกสตูล ในการเสวนาถึงบทบาทหน้าที่ของ 

ภาคส่วนต่าง ๆ กับการพัฒนาจีโอพาร์ค การสร้างบุคลากรให้เป็นคนจีโอพาร์ค Geoparker  และการยกระดับอุทยานธรณีระดับท้องถิ่น สู่ระดับประเทศและระดับโลกจาก UNESCO ต่อไป   

การจัดงานครั้งนี้ได้รับความสนใจจากทุกภาคส่วนทั้งภาครัฐและเอกชนเป็นอย่างมาก ซึ่งถือได้ว่าทุกท่านคือกำลังสำคัญของการขับเคลื่อนอุทยานธรณีประเทศไทยเพื่อก้าวสู่อุทยานธรณีระดับโลก The UNESCO Global Geoparks







กันตินันท์ เรืองประโคน/ผู้สื่อข่าวภูมิภาค/นครราชสีมา 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

เลขาธิการกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในภาค 3 ติดตามการป้องกันและแก้ไขปัญหาไฟป่าหมอกควัน ฝุ่นละออง (PM 2.5) ปี 2568 ในพื้นที่ของกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในจังหวัดสุโขทัย

เลขาธิการกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในภาค 3 ติดตามการป้องกันและแก้ไขปัญหาไฟป่าหมอกควัน ฝุ่นละออง (PM 2.5) ปี 2568 ในพื้นที่ของกองอำนวยการร...