สมาคมผู้ผลิตข่าวออนไลน์ เริ่มขับเคลื่อนโครงการรณรงค์สร้างความรู้เพื่อยับยั้งและรู้เท่าทันข่าวปลอม (Stop Fake, Spread Facts)
ทั้งนี้ โครงการดังกล่าว สมาคมผู้ผลิตข่าวออนไลน์ ได้รับทุนสนับสนุนจากกองทุนวิจัยและพัฒนากิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคม เพื่อประโยชน์สาธารณะ (กทปส.) มีวัตถุประสงค์เพื่อ
1) กระตุ้นให้สังคมตระหนักรู้ในปัญหาข่าวปลอมที่เป็น Soft Crisis ซึ่งมีผลกระทบต่อระบบความคิด (Mindset) และพฤติกรรมการแสดงออกเชิงลบ 2) สร้างเครือข่ายการมีส่วนร่วมในการรณรงค์กับภาคสื่อและภาคประชาชนทั่วประเทศ โดยใช้กลยุทธ์ประสานความร่วมมือ (Collaborative Strategy) กับทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง เพื่อร่วมสื่อสาร แพร่กระจายข่าวสาร ข้อเท็จจริงเชิงสร้างสรรค์ ลดข่าวปลอม ข้อมูลเท็จ โดยเริ่มจากการวิจัยวิเคราะห์สภาพปัญหาทั้งในและต่างประเทศ และการจัดประชุมระดมความคิดเห็นเพื่อศึกษาแนวทางในการกำกับดูแล และกลไกการขับเคลื่อนที่เป็นรูปธรรม จากนั้นนำผลการศึกษามาสังเคราะห์เป็นคู่มือสำหรับภาคสื่อและภาคประชาชน และนำแนวคิดที่ได้มาสร้างสรรค์เป็นภาพยนตร์โฆษณาซึ่งจะเป็นเครื่องมือในการสื่อสารควบคู่กับกิจกรรมการรณรงค์ที่ใช้ชื่องานว่า “Fact-Story Festival” ที่จะจัดให้กับสื่อและประชาชนผู้รับสารในจังหวัดที่เป็นตัวแทนของทุกภูมิภาค โดยโครงการนี้มีระยะเวลา 18 เดือน
เพื่อสร้างการมีส่วนร่วมในการรณรงค์ปัญหาข่าวปลอมให้ความรู้กับประชาชนและสื่อมวลชน ในวันที่ 3 พฤษภาคม 2565 ณ โรงแรมท็อปแลนด์ จังหวัดพิษณุโลก เรื่องข่าวปลอม การรู้เท่าทันสื่อ กิจกรรมในครั้งนี้เป็นการร่วมมือกันในหลายๆ องค์กรทุกภาคส่วน มีจุดมุ่งหมายเพื่อให้ความรู้กับประชาชนทุกระดับตั้งแต่เด็กจนถึงผู้ใหญ่ ในเรื่องข่าวปลอม การรู้เท่าทันสื่อ ที่มีในหลายช่องทางโดยเฉพาะโลกออนไลน์ รวมถึงสื่อมวลชนเป็นส่วนสำคัญที่จะช่วยเรื่องของการกรองข้อมูลที่นำเสนอแก่ผู้บริโภค
บรรยากาศโครงการรณรงค์สร้างความรู้เพื่อยับยั้งและรู้เท่าทันข่าวปลอม ภายใต้ชื่อ Stop Fake, Spread Facts จัดกิจกรรมเชิงวิชาการอภิปรายกลุ่มแบบเจาะจง (Focus Group Discussion) ใน ดำเนินโครงการโดยสมาคมผู้ผลิตข่าวออนไลน์ ด้วยทุนสนับสนุนจากกองทุนพัฒนากิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม เพื่อประโยชน์สาธารณะ (กทปส.) ให้ความรู้กับประชาชนและสื่อมวลชน ในเรื่องข่าวปลอม การรู้เท่าทันสื่อ กิจกรรมในครั้งนี้เป็นการร่วมมือกันในหลายๆ องค์กรทุกภาคส่วน มีจุดมุ่งหมายเพื่อให้ความรู้กับประชาชนทุกระดับตั้งแต่เด็กจนถึงผู้ใหญ่ ในเรื่องข่าวปลอม การรู้เท่าทันสื่อ ที่มีในหลายช่องทางโดยเฉพาะโลกออนไลน์ รวมถึงสื่อมวลชนเป็นส่วนสำคัญที่จะช่วยเรื่องของการกรองข้อมูลที่นำเสนอแก่ผู้บริโภค
นาคา คะเลิศรัมย์/รายงาน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น