วันศุกร์ที่ 23 มีนาคม พ.ศ. 2561

แม่ทัพภาคที่ 3 ถก Ị ผู้ว่าฯ 4 จังหวัด แก้ไขไฟป่าภาคเหนือตอนบน “กำชับ Ị Ị Ị บูรณาทุกภาคส่วน เร่งป้องไฟป่า....เข้มห้ามเผา ลดปริมาณฝุ่นละอองเร่งด่วน ” เน้นรณรงค์ - พูดคุยชาวบ้าน

 พลโท วิจักขฐ์ สิริบรรสพ แม่ทัพภาคที่ 3/ผู้อำนวยการศูนย์อำนวยการป้องกันและแก้ไขปัญหาไฟป่าและหมอกควันระดับภาค เป็นประธานในการประชุม “ติดตามการดาเนินการแก้ไขปัญหาไฟป่าและหมอกควันในพื้นที่ภาคเหนือ” โดยมี พลโทสมพงษ์  แจ้งจำรัส  แม่ทัพน้อยที่ 3 , พลตรีสาธิต ศรีสุวรรณ ผู้บัญชาการมณฑลทหารบกที่ 33 , นายปวิณ ชำนิประศาสน์  ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่, นายณรงค์ศักดิ์ โอสถธนากร        ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงราย, นายประจญ ปรัชญสกุล ผู้ว่าราชการจังหวัดพะเยา และนายพงศ์รัตน์ ภิรมย์รัตน์ ผู้ว่าราชการจังหวัดแพร่ พร้อมด้วยรองผู้ว่าราชการจังหวัด หัวหน้าส่วนราชการหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ให้การต้อนรับ ณ ห้องประชุม ศูนย์อานวยการป้องกันและแก้ไขปัญหาไฟป่าและหมอกควันระดับภาค ส่วนหน้า  (ศอ.ปกป.ภาค (สน.)) ค่ายพระปิ่นเกล้า อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่ เมื่อวันศุกร์ที่ 23 มีนาคม 2561

   ตามที่ กองทัพภาคที่ 3 ได้ปฏิบัติภารกิจในการป้องกันและแก้ไขปัญหาไฟป่าและหมอกควันในพื้นที่ 9 จังหวัดภาคเหนือ เพื่อสนองพระราชเสาวนีย์ของ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์พระบรมราชินีนาถ ในรัชกาลที่ 9 ที่ให้ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ดำเนินการแก้ไขปัญหาไฟป่าและหมอกควัน ซึ่งส่งผลกระทบและสร้างความเดือดร้อนให้แก่ราษฎรในพื้นที่ภาคเหนือ มายาวนานหลายปี โดยได้รับความร่วมมือจากทุกภาคส่วน ทั้งส่วนราชการและหน่วยงานที่มีภารกิจโดยตรง องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และภาคประชาชน เป็นอย่างดีมาโดยตลอด แต่ปัญหาไฟป่าและหมอกควันในพื้นที่ภาคเหนือ นั้น ก็ยังคงไม่สามารถแก้ไขได้อย่างจริงจัง ทั้งนี้ มีสาเหตุมาจากการกระทำของคนที่ไม่ยอมเปลี่ยนพฤติกรรม เช่น ความเชื่อที่ว่า เมื่อจุดไฟเผาบริเวณนั้นจะทำให้เห็ดขึ้น จุดไฟเผาเพื่อล่าสัตว์ป่า การเผาป่าเพื่อทำไร่เลื่อนลอย การกาจัดเศษวัชพืช ที่เหลือใช้จากการปลูกพืชไร่ และการเผาขยะ เป็นต้น รวมทั้งหมอกควันข้ามแดน อันเกิดจากการเผาป่าของประชาชนประเทศเพื่อนบ้าน ซึ่งมาตรการที่ดำเนินการอยู่ ได้มีการรณรงค์สร้างจิตสานึก และการมีส่วนร่วมของภาครัฐ ภาคเอกชน รวมทั้งประชาชน ในการร่วมกันป้องกันและแก้ไขปัญหาไฟป่าและหมอกควัน

   จากการรณรงค์ในการแก้ไขปัญหาไฟป่าและหมอกควัน ทำให้เกิดจุด Hotspots ในห้วงเดือนมีนาคมปี 2561 (1 ม.ค. - 22 มี.ค.61) ในพื้นที่ 9 จังหวัดภาคเหนือตอนบน เกิดจุด Hotspots จำนวน  2,378 จุด และในห้วงเวลาเดียวกันของปี 2560 ตรวจพบจุด Hotspots ทั้งสิ้น 3,479 จุด ซึ่งลดลงจากเดิม 31.61 เปอร์เซ็นต์ โดยในปี 2561 ค่าคุณภาพอากาศที่เกินเกณฑ์มาตรฐาน ส่งผลกระทบต่อสุขภาพประชาชนในพื้นที่ 5 จังหวัดภาคเหนือ ได้แก่ จังหวัดเชียงใหม่, ลำพูน, ลำปาง, แพร่ และตาก มาเป็นเวลา 15 วัน โดยลดลงจาก ปี 2560 ในห้วงเวลาเดียวกัน ที่เกิดขึ้นในพื้นที่ 9 จังหวัด จำนวน 23 วัน จากการดำเนินการที่ผ่านมาถึงแม้จะลดจำนวนวันที่ส่งผลกระทบแต่ก็ยังคงกระทบต่อสุขภาพประชาชน

   เพื่อเป็นการแก้ปัญหา ตั้งแต่วันที่ 1 เม.ย.61 ให้ใช้มาตรการทางกฎหมายอย่างจริงจังในการจับกุมผู้กระทำความผิดจากการลักลอบเผาป่า โดยขอให้สื่อมวลชน และผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง ร่วมกันดำเนินการประชาสัมพันธ์ถึงผลกระทบที่เกิดจากการไฟป่าและหมอกควัน และเพื่อเป็นการแก้ไขปัญหาสถานการณ์ที่ยังคงเกิดขึ้น กองทัพภาคที่ 3 จึงจัดการประชุม “ติดตามการดำเนินการแก้ไขปัญหาไฟป่าและหมอกควันในพื้นที่ภาคเหนือ” ขึ้น เพื่อให้ทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้รับทราบสถานการณ์ปัจจุบัน เกี่ยวกับปัญหาไฟป่าและหมอกควันในพื้นที่ภาคเหนือ และร่วมกันหาแนวทางการดำเนินการป้องกันปัญหาไฟป่าและหมอกควัน รวมทั้งได้ร่วมพิจารณาข้อมูล และข้อเสนอแนะ ที่เกี่ยวข้องในการปฏิบัติ เพื่อให้การดำเนินงานในการป้องกันและแก้ไขการเกิดไฟป่าและหมอกควันในพื้นที่ 9 จังหวัดภาคเหนือ บังเกิดผลสำเร็จสูงสุดตามวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้ ตลอดจนเพื่อแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของประชาชน ในพื้นที่ ที่ได้รับผลกระทบจากปัญหาไฟป่าและหมอกควันได้อย่างรวดเร็วและทันท่วงที

   แม่ทัพภาคที่ 3 ในฐานะผู้บัญชาการศูนย์อำนวยการป้องกันและแก้ไขไฟป่าและหมอกควันระดับภาค เน้นย้ำ “ การเตรียมความพร้อมในการแก้ไขปัญหาไฟป่าและหมอกควัน มุ่งเน้นในการประชาสัมพันธ์ รณรงค์ให้ประชาชนตระหนักรู้ถึงโทษภัยของไฟป่าและหมอกควัน ที่ส่งผลกระทบต่อประชาชน และสิ่งแวดล้อม รวมทั้งเกิดจิตสำนึกในความร่วมมือ ในการป้องกันการเกิดปัญหาหมอกควันไฟป่า เป็นปัญหาใหญ่ที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชน รวมถึงการคมนาคมทั้งทางบกและทางอากาศ ตลอดจนสภาวะเศรษฐกิจในพื้นที่ภาคเหนือ ”

   ขณะเดียวกันจุดเสี่ยงและจุดเฝ้าระวังในพื้นที่ภาคเหนือส่วนใหญ่จะอยู่ในพื้นที่ของเขตป่าสงวนแห่งชาติ หรือพื้นที่อุทยานฯ เนื่องจากมีสภาพเป็นภูเขาสูงยากต่อการเข้าไปดับไฟป่า อย่างไรก็ตาม การดำเนินการให้ได้ผลมากที่สุดคือการรณรงค์สร้างความเข้าใจกับคนในพื้นที่ ซึ่งเมื่อคนในพื้นที่เกิดความเข้าใจก็จะให้ความร่วมมือแก้ปัญหา









         ข่าวทั่วไทย พิจิตร

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

สมาคมพิทักษ์แผ่นดินไทย”(ศ.ป.พ.๓) ตำบล แก่งหางแมว อำเภอ แก่งหางแมว จังหวัด จันทบุรี ได้ร่วมจัดชุดยังชีพมอบให้กับครอบครัวผู้มีรายได้น้อย

วันที่ ๒๔ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๕๖๗ “สมาคมพิทักษ์แผ่นดินไทย”(ศ.ป.พ.๓) ตำบล แก่งหางแมว อำเภอ แก่งหางแมว จังหวัด จันทบุรี ได้ร่วมจัดชุดยังชีพมอบให้กั...