วันอังคารที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2567

ผู้ว่าฯโคราช พบสื่อ การรวมตัวครั้งยิ่งใหญ่ของสื่อมวลชนโคราช


ผู้ว่าโคราชพบสื่อ บอกเล่าเรื่องราวการทำงานของส่วนราชการในพัฒนาคุณภาพชีวิต ปชช. ตามโครงการสื่อสารสร้างการรับรู้สู่สื่อมวลชนและเครือข่ายประชาสัมพันธ์

เมื่อวันที่( 17 ธันวาคม 2567 ) ที่ห้องโคราช 2 ชั้น 2 โรงแรมเซนทารา โคราช อ.เมือง จ.นครราชสีมา นายชัยวัฒน์ ชื่นโกสุม ผู้ว่าราชการจังหวัดนครราชสีมา เป็นประธานเปิดโครงการสื่อสารการสร้างการรับรู้สู่สื่อมวลชนและเครือข่ายประชาสัมพันธ์ จัดขึ้นโดยสำนักงานประชาสัมพันธ์จังหวัดนครราชสีมา โดยมีนางศศิธร สุขเจริญ ประชาสัมพันธ์จ.นครราชสีมา , นางสาวรุ่งทิพย์ บุกขุนทด ผอ.ททท.นครราชสีมา หัวหน้าส่วนราชการ เจ้าหน้าที่ประชาสัมพันธ์ จ.นครราชสีมา รวมทั้งมีนายสุรพันธ์ ศิลปสุวรรณ รอง ผวจ.นครราชสีมา สื่อมวลชน และ เครือข่ายประชาสัมพันธ์ร่วมกิจกรรมกว่า 70

นายชัยวัฒน์ กล่าวว่า การจัดกิจกรรมมุ่งหวังให้สื่อมวลชนและเครือข่ายประชาสัมพันธ์ทุกคนได้นำข้อมูลข่าวสารนโยบายและการทำงานของหน่วยงานภาครัฐ ไปสื่อสารต่อยังพี่น้องประชาชนในพื้นที่จังหวัดนครราชสีมาให้ได้รับข้อมูลข่าวสารที่เป็นประโยชน์ เพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น สื่อมวลชนและเครือข่ายประชาสัมพันธ์เป็นเหมือนโซ่ข้อกลางในการเชื่อมต่อระหว่างหน่วยงานภาครัฐกับประชาชน และสะท้อนข้อมูลปัญหา ความเดือดร้อนจากพี่น้องประชาชนมายังหน่วยงานภาครัฐ ซึ่งจะนำมาถึงการแก้ไขปัญหา ของพี่น้องประชาชน ซึ่งนโยบายการทำงานของส่วนราชการ คำนึงถึงปัญหาความเดือดร้อนของพี่น้องชาวโคราชเป็นสำคัญ พร้อมกันนี้ยังได้มอบนโยบายแก่หน่วยงานราชการหลายเรื่อง อาทิ การกำหนดวาระจังหวัด “KORAT FIRST” โดยให้หน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคประชาชน เลือกใช้สินค้าและบริการ ตลอดจนผลิตภัณฑ์ต่างๆ ที่ผลิตขึ้น ภายในจังหวัดนครราชสีมาก่อน เช่น Korat Kitchen Original Korat Resorch Korat Tourism and Trade Agriculture และกำหนดให้มี Korat Brand เป็นตราสัญญาลักษณ์ ผลิตภัณฑ์โคราช ที่บ่งบอกถึงอัตลักษณ์ของจังหวัด , โครงการบ้านพักมิตรภาพบำบัดผู้ป่วยมะเร็ง , โครงการผู้ว่าฯ พานับคาร์บ ลดน้ำหนัก 1 ล้านกิโล เพื่อคนโคราช , โครงการเปิดจวนผู้ว่าฯ ให้เป็นที่พักนักเรียน นักศึกษาที่เดินทางมาสอบในจังหวัดฯ , โครงการบำนาญประชาชน ปลูกต้นไม้เป็นเงินออม ซึ่งล้วนแล้วแต่เป็นโครงการเพื่อยกระดับความเป็นอยู่ คุณภาพชีวิตของพี่น้องชาวโคราชให้มี คุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ห่างไกลจากโรคภัยไข้เจ็บ และ หลุดพ้นความยากจน อย่างไรขอให้พี่น้องสื่อมวลและเครือข่ายประชาสัมพันธ์ช่วยกันสื่อสารสิ่งที่ส่วนราชการในจังหวัดมีความตั้งใจ ที่จะพัฒนา เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของพี่น้องชาวโคราชให้ดียิ่งขึ้น นายชัยวัฒน์ กล่าว








กันตินันท์ เรืองประโคน/รายงาน


เชียงใหม่ เปิดศูนย์บัญชาการฯ เตรียมรับมือไฟป่า ปี 68 รองแม่ทัพภาคที่ 3 ร่วม เปิดศูนย์บัญชาการฯ เตรียมรับมือไฟป่า ทำ MOU ร่วมกับทุกภาคส่วน แก้ปัญหาหมอกควัน พร้อมรับมอบเงิน 10 ล้านบาท จาก อบจ.เชียงใหม่ นำไปสนับสนุนอำเภอและอาสาสมัครดับไฟป่า


เชียงใหม่ เปิดศูนย์บัญชาการฯ เตรียมรับมือไฟป่า ปี 68 รองแม่ทัพภาคที่ 3 ร่วม เปิดศูนย์บัญชาการฯ เตรียมรับมือไฟป่า ทำ MOU ร่วมกับทุกภาคส่วน แก้ปัญหาหมอกควัน พร้อมรับมอบเงิน 10 ล้านบาท จาก อบจ.เชียงใหม่ นำไปสนับสนุนอำเภอและอาสาสมัครดับไฟป่า

เมื่อวันที่ 16 ธันวาคม 2567 ที่ห้องประชุมสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงใหม่ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ พลตรี ชายแดน กฤษณสุวรรณ รองแม่ทัพภาคที่ 3/ รองผู้อำนวยการศูนย์อำนวยการจิตอาสาพระราชทานภาค 3 พร้อมด้วย  ส่วนราชการ หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้ร่วมกันลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) ร่วมกัน จำนวน 2 ฉบับ โดยฉบับอรกเป็นการลงนาม MOU ร่วมกับ นายพิชัย เลิศพงศ์อดิศร นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงใหม่ โดยมี นายนิรัตน์ พงษ์สิทธิถาวร ผู้ราชการจังหวัดเชียงใหม่ เป็นประธาน เพื่อสนับสนุนงบประมาณดำเนินการควบคุมไฟป่าและฝุ่นควัน ระหว่างองค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงใหม่ กับมูลนิธิป้องกันและแก้ไขปัญหาไฟป่าและฝุ่นควันจังหวัดเชียงใหม่ โดย อบจ.เชียงใหม่ ได้มอบงบประมาณในการดำเนินการควบคุมไฟป่าและฝุ่นควันให้กับมูลนิธิป้องกันและแก้ไขปัญหาไฟป่าและฝุ่นควัน จังหวัดเชียงใหม่ เป็นจำนวนเงินทั้งสิ้น 10,990,000 บาท โดยเงินจำนวนนี้ มูลนิธิป้องกันและแก้ไขปัญหาไฟป่าและฝุ่นควัน จังหวัดเชียงใหม่ จะนำไปสนับสนุนอำเภอทั้ง 24 อำเภอที่มีพื้นที่ป่าและอาสาสมัครประจำหมู่บ้านของมูลนิธิป้องกันและแก้ไขปัญหาไฟป่า และฝุ่นควัน จังหวัดเชียงใหม่ ในพื้นที่ 727 หมู่บ้าน ที่เป็นพื้นที่ติดป่าและมีความเสี่ยงในการเกิดไฟ แต่ยังไม่ได้รับการสนับสนุนงบประมาณผ่านช่องทางต่าง ๆ ของทางราชการ  ส่วน MOU ฉบับที่ 2 เป็นการลงนามบันทึกข้อตกลง การป้องกันและแก้ไข


ปัญหาหมอกควันไฟป่าและฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM 2.5 ประจำปี 2568 ร่วมกับหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคีเครือข่ายภาคประชาชน กว่า 15 หน่วยงาน เป็นการประกาศเจตจำนงร่วมกันทุกภาคส่วนในการเดินหน้าขับเคลื่อนแก้ปัญหาฝุ่นควันในปี 2568 รวมทั้งสนับสนุนแนวทางการบริหารจัดการเชื้อเพลิง เพื่อสร้างระบบกองทุน งบประมาณโดยชุมชนนำไปสู่การจัดการไฟป่าและทรัพยากรธรรรมชาติอย่างยั่งยืน โดยจังหวัดเชียงใหม่จะการขับเคลื่อน มาตรการอากาศสะอาดเชียงใหม่ปี 2568 ภายใต้แนวคิดร่วมมือกันเพื่อสร้างอากาศสะอาด Collaboration to create clean air ที่ประกอบด้วย 4 มาตรการ คือ การป้องกันและลดการเกิดไฟบำและมลพิษที่ต้นทางจากแหล่งกำเนิด การลดลกระทบต่อสุขภาพประชาชน การบริหารจัดการและกลไกการทำงานร่วมกัน และ การสร้างความยั่งยืน 

จากนั้น คณะกรรมการแก้ไขปัญหาไฟป่าและฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM 2.5 แบบบูรณาการ จังหวัดเชียงใหม่ ได้ประชุมร่วมกัน โดยมี นายนิรัตน์ พงษ์สิทธิถาวร ผู้ว่าราชการจังหวัดเขียงใหม่เป็นประธาน พร้อมกับเปิดศูนย์ War Room ศูนย์อำนวยการป้องกันและแก้ไขปัญหาไฟป่า หมอกควัน และฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM 2.5 จังหวัดเชียงใหม่ ที่บริเวณด้านหน้าอาคารหอประชุมสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงใหม่ โดยมีการมอบเครื่องมืออุปกรณ์ให้กับตัวแทนเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานควบคุมและดับไฟป่า เพื่อนำไปใช้งานในด้านการอนุรักษ์ฟื้นฟูป่าและปกป้องทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมต่อไป









































ภาพข่าว- วีดีโอ -ศูนย์ประชาสัมพันธ์กองทัพภาคที่ 3 ธีรพงศ์ นาคแนม (นกพิราบศูนย์ข่าว จังหวัดพิจิตร)  ศูนย์ประสานงานข่าว น.ส.พ.ข้าแผ่นดินสยาม โทร 0831671688 รายงาน** คนรู้จักพัก ทว่าไม่รู้จักพอ ** จิตอาสาพัฒนา เราทำความดีด้วยหัวใจ....ร่วมใจกันพัฒนา


มณฑลทหารบกที่ 34 ร่วมพิธีอัญเชิญ/มอบรางวัลถ้วยพระราชทาน การแข่งขันการบินโดรนแปรอักษรชิงถ้วยพระราชทานพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ประจำปี 2567 ของจังหวัดพะเยา


มณฑลทหารบกที่ 34 ร่วมพิธีอัญเชิญ/มอบรางวัลถ้วยพระราชทาน การแข่งขันการบินโดรนแปรอักษรชิงถ้วยพระราชทานพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ประจำปี 2567 ของจังหวัดพะเยา

เมื่อวันที่ 15 ธันวาคม 2567 เสร็จสิ้นไปแล้ว สำหรับการ การออกแบบแผนการบินโดรนแปรอักษร หัวข้ออัตลักษณ์ความเป็นไทย ชิงถ้วยพระราชทานพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ประจำปี 2567 ที่ จังหวัดพะเยา โดย พลตรี กิตติ ด้วงแจ่ม ผู้บัญชาการมณฑลทหารบกที่ 34 มอบหมายให้ พันเอก วิศิษฐ์ บรรณากิจ รองผู้บัญชาการมณฑลทหารบกที่ 34 /รองผู้อำนวยการรักษาความมั่นคงภายในจังหวัดพะเยา ฝ่ายทหาร เป็นผู้แทนฯ ร่วมพิธีอัญเชิญ/มอบถ้วยรางวัลพระราชทาน การแข่งขัน "การออกแบบแผนการบินโดรนแปรอักษร" หัวข้อ "อัตลักษณ์ความเป็นไทย" ชิงถ้วยพระราชทานพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ประจำปี 2567 ของ จังหวัดพะเยา ณ บริเวณลานหน้าอนุสาวรีย์พ่อขุนงำเมือง อำเภอเมือง จังหวัดพะเยา

จังหวัดพะเยา ร่วมกับองค์การบริหารส่วนจังหวัดพะเยา เทศบาลเมืองพะเยา สมาคมกีฬาเครื่องบินจำลองและวิทยุบังคับ ภาคเอกชน และส่วนราชการทุกภาคส่วนในจังหวัดพะเยา จัดขึ้นระหว่างวันที่ 12-15 ธันวาคม 2567 ที่ผ่านมา ณ บริเวณลานหน้าอนุสาวรีย์พ่อขุนงำเมือง ริมกว๊านพะเยา


โดยมี ดร.นิภารัตน์ ดีอ่อง ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยแห่งชาติ เป็นประธานในพิธี และมีนายรัฐพล นราดิศร ผู้ว่าราชการจังหวัดพะเยา พร้อมด้วย รองผู้บัญชาการมณฑลทหารบกที่ 34 ปลัดจังหวัดพะเยา หัวหน้าส่วนราชการ ประชาชน และนักท่องเที่ยวร่วมในพิธี ขณะที่นายบำรุง สังข์ขาว รองผู้ว่าราชการจังหวัดพะเยา ได้นำขบวนอัญเชิญถ้วยพระราชทานพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เข้าสู่บริเวณงานที่เวทีบริเวณลานหน้าอนุสาวรีย์พ่อขุนงำเมือง ริมกว๊านพะเยา
จากนั้น ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยแห่งชาติ พร้อมด้วย ผู้ว่าราชการจังหวัดพะเยา รองผู้บัญชาการมณฑลทหารบกที่ 34 รองผู้ว่าราชการจังหวัดพะเยา และสมาคมกีฬาเครื่องบินจำลองและวิทยุบังคับ ได้ร่วมกับมอบรางวัลแก่ทีมชนะการแข่งขันโดยรางวัลชนะเลิศได้แก่ ทีมจาก โรงเรียนคำเขื่อนแก้วชนูปถัมภ์ เป็น รูปรถตุ๊กตุ๊ก และหมูกะทะ รับ โล่รางวัลพระราชทานพร้อม เงินรางวัล 100,000 บาท ซึ่งเป็นแชมป์เก่าเมื่อปีที่แล้ว , รองชนะเลิศอันดับ 1ทีม ลูกเจ้าพ่อใส่เงิน 3 จากโรงเรียนพิบูลมังสาหาร รับโล่รางวัลพระราชทานพร้อม เงินรางวัล 50,000 บาท , รองชนะเลิศอันดับ 2 ได้แก่ ทีม มหาราชภูคำ 2 น้องข้าวสวย และน้องข้าวกล้อง ซึ่งมีอายุน้อยที่สุดในจำนวนผู้เข้าแข่งขันทั้งหมด คือ 8 ขวบกับ 11 ขวบ จากโรงเรียนมหาราช รางวัลพร้อมเงินรางวัล 30,000 บาท , รองอันดับ 3 โรงเรียนเรณูนครวิทยานุกูล รับโล่รางวัลพร้อมเงินรางวัล 10,000 บาท และรางวัลชมเชย ได้แก่ โรงเรียนพิบูลมังสาหาร ทีมลูกเจ้าพ่อไทรเงิน , ทีมกล้วยๆจากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน , ทีมจากโรงเรียนอัสสัมชัญโคราช จังหวัดนครราชสีมา และทีมเชียงคำ 1 จากโรงเรียนเชียงคำพิทยาคม จังหวัดพะเยา โดยทั้ง 4 ทีมที่ได้รับรางวัลชมเชยจะได้รับเงินรางวัลทีมละ 3,000 บาท

บรรยากาศการแข่งขัน การแข่งขันออกแบบแผนการบินโดรนแปรอักษร ชิงถ้วยพระราชทาน พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ประจำปี 2567 ภายใต้หัวข้อ "อัตลักษณ์ความเป็นไทย" ณ ลานอนุสาวรีย์พ่อขุนงำเมือง ริมกว๊านพะเยา โดยมีหัวน้าส่วนราชการ คณะกรรมการตัดสินการประกวด รวมถึงประชาชนและนัก






































ภาพข่าว- วีดีโอ -ศูนย์ประชาสัมพันธ์กองทัพภาคที่ 3 ธีรพงศ์ นาคแนม (นกพิราบศูนย์ข่าว จังหวัดพิจิตร)  ศูนย์ประสานงานข่าว น.ส.พ.ข้าแผ่นดินสยาม โทร 0831671688 รายงาน** คนรู้จักพัก ทว่าไม่รู้จักพอ ** จิตอาสาพัฒนา เราทำความดีด้วยหัวใจ....ร่วมใจกันพัฒนา

ท่องเที่ยวจำนวนมาก ต้องกางร่มนั่งชมการแข่งขันฯ เนื่องจากมีฝนตกลงมาอย่างต่อเนื่อง 

ผู้ว่าฯโคราช พบสื่อ การรวมตัวครั้งยิ่งใหญ่ของสื่อมวลชนโคราช

ผู้ว่าโคราชพบสื่อ บอกเล่าเรื่องราวการทำงานของส่วนราชการในพัฒนาคุณภาพชีวิต ปชช. ตามโครงการสื่อสารสร้างการรับรู้สู่สื่อมวลชนและเครือข่ายประชาส...