วันอาทิตย์ที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2564

ปราจีนบุรี ร่างทรงทำพิธิ "เปิด"เจ้าแม่ตะเคียนทั้ง 5

ปราจีนบุรี ร่างทรงทำพิธิ "เปิด"เจ้าแม่ตะเคียนทั้ง 5

วันที่ 28 กพ.64 ที่วัดเจริญราษฎร์รังสรรค์ บ้านแก่งตลิ่งชัน ม.8 ต.นาแขม​ อ.กบินทร์บุรี จ.ปราจีนบุรี​ "หมอทวน" จาก จ.สระแก้ว (ขอสงวนชื่อ-นามสกุล)ร่างทรง ทำพิธี "เปิด" เรือแม่ตะเคียนทั้ง 5 ก่อนหน้านี้เมื่อวันที่ 23 กพ.มีการขุดพบเรือตะเคียนโบราณอยู่ข้างบ่อทรายแห่งหนึ่งซึ่งของบ่อทรายขอไม่ให้เอ่ยถึงสถานที่ เกรงว่าจะมีประชาชนกันเดินทางมาที่บ่อทรายของตนเองอาจจะทำงานลำบากเนื่องจากเป็นสถานที่ส่วนบุคคล  และได้ประสานผู้นำหมู่บ้านจัดหาสถานที่ที่นำไปไว้ที่อื่นเพื่อความสะดวกกับผู้ที่อยากรู้อยากเห็น แถวบ้านมีความเห็นว่าสมควรที่จะนำเรือโบราณทั้ง 5 ลำขุดพบมาไว้ที่วัดในหมู่บ้านในเย็นวันนั้นหลังจากทราบข่าวมีคนหลั่งไหลมามาดูตะเคียนโบราณอย่างไม่ขาดสาย เพื่อความสิริมงคลของหมู่บ้านจึงให้ร่างทรงมาทำพิธี "เปิด"แม่ตะเคียนทั้ง 5 เพื่อที่จะได้มีชื่อแต่ละลำ "หมอทวน"บอกกับทุกคนสั้นๆว่าวันนี้ที่มาทำพิธีเป็นการทำพิธี "เปิด" เปิดชื่อเจ้าแม่ตะเคียนทั้ง 5 ไม่ใช่เป็นการบวงสรวงแต่อย่างใด ซึ่งได้ทำพิธิทรงแล้วเจ้าแม่ตะเคียนทั้ง 5 ชื่อ

1.แม่ศรีสุวรรณกัลยาณี

2.แม่ศรีสุวรรณกรอง

กาญจน

3.แม่ศรีกิตติวรรณ

4.แม่ศรีกาญจนศิริ

5.แม่สีขจีวรรณ 

ขณะทำพิธี "เปิด"มีบรรดาคอหวยทั่วสารทิศ 300 คนกันมาดูเพื่อขอเลขเด็ดและน่าจะเขียนได้เข้าสิงผู้หญิงคนหนึ่งท่ามกลางความสนใจของคอหวยนับร้อย เจ้าแม่เดินไปรอบๆเรือตะเคียนที่วางอยู่ในเต้นท์พร้อมกับเขียนเลขเด็ดให้คอหวยที่คอยจดไว้ เจ้าแม่ทำมือให้เห็นเป็นเลข 963 และ 53 มีแผงลอตเตอรี่มาบริการถึงที่ 20 แผง หลายคนซื้อหากันติดมือกันไว้คนละ 2-5 ใบรอลุ้นวันพรุ่งนี้







///นิรุธ รักษาพล ปราจีนบุรี//

อธิบดี ชป. นำทีมลงพื้นที่ติดตามการบริหารจัดการน้ำในคลองจินดา วางแนวทางแก้ไขปัญหาระยะยาว

อธิบดี ชป. นำทีมลงพื้นที่ติดตามการบริหารจัดการน้ำในคลองจินดา วางแนวทางแก้ไขปัญหาระยะยาว

เช้าวันนี้ (27 ก.พ. 64)ที่บริเวณคลองจินดา อ.สามพราน จ.นครปฐม นายประพิศ จันทร์มา อธิบดีกรมชลประทาน พร้อมด้วยผู้เกี่ยวข้องเดินทางลงพื้นที่ไปติดตามสถานการณ์น้ำ พร้อมมอบนโยบายและแนวทางการแก้ไขปัญหาในแม่น้ำท่าจีน ตามนโยบายของดร.เฉลิมชัย ศรีอ่อน รมว.เกษตรและสหกรณ์

นายประพิศ จันทร์มา อธิบดีกรมชลประทาน เปิดเผยภายหลังลงพื้นที่ว่า สถานการณ์ค่าความเค็มของแม่น้ำท่าจีน ล่าสุดเช้าวันนี้(27 ก.พ. 64)เวลา 07.00 น. ที่สถานีปากคลองจินดา(ประตูระบายน้ำคลองจินดา) จุดเชื่อมต่อกับแม่น้ำท่าจีน วัดค่าความเค็มได้ 2.04 กรัม/ลิตร ในขณะที่ด้านในคลองจินดาวัดค่าความเค็มได้ 0.55 กรัม/ลิตร อยู่ในเกณฑ์ปกติ (เกณฑ์เฝ้าระวังสำหรับกล้วยไม้ 0.75 กรัม/ลิตร เกณฑ์เฝ้าระวังเพื่อการเกษตรไม่เกิน 2 กรัม/ลิตร) ซึ่งกรมชลประทานได้ติดตามสถานการณ์และกำหนดมาตรการต่างๆเพื่อไม่ให้เกษตรกรในพื้นที่ได้รับผลกระทบจากน้ำเค็ม ซึ่งได้ผลอย่างดียิ่ง

สำหรับพื้นที่ได้รับผลกระทบจากปริมาณน้ำจืดน้อยนั้น กรมชลประทาน ได้วางแผนงานแก้ไขปัญหาไว้หลายแนวทาง อาทิ การปรับปรุงสถานีสูบน้ำคลองจินดาให้สามารถสูบน้ำได้สองทาง กล่าวคือ สูบน้ำลงสู่แม่น้ำท่าจีนเพื่อเร่งระบายน้ำในฤดูน้ำหลากเพื่อบรรเทาปัญหาน้ำท่วม ส่วนฤดูแล้งในช่วงเวลาที่แม่น้ำท่าจีนมีค่าความเค็มของน้ำต่ำก็สามารถสูบน้ำกลับขึ้นไปช่วยเหลือเกษตรกรได้ การผันน้ำจากแม่น้ำท่าจีนผ่านคลองประชานารถพร้อมทั้งติดตั้งเครื่องสูบน้ำขนาด 3 ลบ.ม. 1 เครื่อง ทำหน้าที่ผันน้ำมาลงคลองจินดาเพื่อกระจายน้ำให้กับพื้นที่การเกษตร การขุดลอกกำจัดวัชพืชน้ำโดยเฉพาะผักตบชวาและการขุดลอก ขุดขยายคลองต่างๆให้สามารถระบายน้ำได้อย่างสะดวกในฤดูน้ำหลากและเก็บน้ำไว้ในคลองสำหรับเป็นแหล่งน้ำให้เกษตรกรในพื้นที่ใกล้เคียง การผันน้ำมาจากแม่น้ำแม่กลองผ่านมาทางคลองสายใหญ่ฝั่งซ้ายช่วงที่ตัดกับคลองท่าผา -บางแก้ว พร้อมทั้งขุดลอกกำจัดวัชพืช บริเวณคลอง 6ขวา-5ซ้าย และคลอง 7ขวา-5ซ้าย และก่อสร้างปรับปรุงประตูระบายน้ำ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการระบายน้ำและเติมน้ำให้กับพื้นที่การเกษตรบริเวณคลองจินดาและพื้นที่ใกล้เคียง

“ได้สั่งการให้สำนักงานชลประทานที่ 13 ประสานกับสำนักเครื่องจักรกล ในการเร่งนำเครื่องจักรเครื่องมือ เข้ามาดำเนินการกำจัดผักตบชวาและวัชพืชพร้อมการขุดลอกและขุดขยายคลองให้แล้วเสร็จภายในระยะเวลา 3-4 เดือนก่อนฤดูฝนจะมาถึง เพิ่มศักยภาพการบริหารจัดการน้ำในพื้นที่คลองจินดาและพื้นที่ใกล้เคียง สำหรับพื้นที่ที่ขาดแคลนน้ำอุปโภคบริโภคได้สั่งการให้เร่งนำรถบรรทุกน้ำเข้ามาช่วยชาวบ้านโดยด่วน” นายประพิศฯ กล่าวในที่สุด

จากนั้น ได้ร่วมลงพื้นที่กับนางสาวจอมขวัญ กลับบ้านเกาะ ส.ส.สมุทรสาคร และนายอุดม ไกรวัตนุสสรณ์ นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดสมุทรสาคร เพื่อพบปะพูดคุย และรับฟังปัญหาจากกลุ่มเกษตรกร  รวมทั้งประชาชนในพื้นที่ โดยจะร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องหาแนวทางในการช่วยเหลืออย่างเต็มที่ และนายประพิศเน้นย้ำขอให้เกษตรกรให้ความร่วมมือกับกรมชลประทานช่วยกันคิดช่วยกันทำในการบริหารจัดการน้ำ ซึ่งเกษตรกรชาวสวนกล้วยไม้และสวนมะพร้าว ได้กล่าวขอบคุณ กรมชลประทานที่ได้จัดหาน้ำมาให้อีกด้วย












"กอ.รมน." เข้าหารือเรื่องการเชื่อมโยงแลกเปลี่ยนข้อมูลฯ กับ "กรมป่าไม้"

"กอ.รมน." เข้าหารือเรื่องการเชื่อมโยงแลกเปลี่ยนข้อมูลฯ กับ "กรมป่าไม้"

นายอดิศร นุชดำรงค์ อธิบดีกรมป่าไม้ เป็นประธานการหารือเรื่องการเชื่อมโยงแลกเปลี่ยนข้อมูลสนับสนุนศูนย์กลางข้อมูลด้านความมั่นคง โดยมี นายชีวะภาพ ชีวะธรรม รองอธิบดีกรมป่าไม้ และในส่วนของ กอ.รมน. ได้มอบหมายให้ พลตรี นภดล แก้วกำเนิด ผู้อำนวยการศูนย์ดิจิทัลเพื่อความมั่นคง กอ.รมน. เข้าร่วมในการหารือการเชื่อมโยงแลกเปลี่ยนข้อมูลฯ ณ ห้องประชุม 2 ชั้น 2 อาคารเทียมคมกฤส กรมป่าไม้    

จากการหารือในครั้งนี้ กอ.รมน. ได้ขอรับการสนับสนุนข้อมูลจากกรมป่าไม้ในรายละเอียดการปฏิบัติ จำนวน 6 ฐานข้อมูล ดังนี้  1.ข้อมูลแสงแนวเขตป่าสงวน 2.ข้อมูลการใช้ประโยชน์พื้นที่ป่าสงวน

3.ข้อมูลพื้นที่ป่าไม้ของประเทศ 4.สถิติคดีตามกฎหมายป่าไม้  5.สถิติข้อมูลการปลูกป่า / ฟื้นฟูป่า และ  6.  ข้อมูลอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง

ทั้งนี้ เพื่อให้การดำเนินการเป็นไปตามกรอบแผนปฏิบัติการด้านการบูรณาการข้อมูลด้านความมั่นคง ได้รับข้อมูล

ที่ถูกต้อง ทันสมัย และสมบูรณ์เพียงพอสำหรับการขับเคลื่อนการป้องกันและแก้ไขปัญหาความมั่นคงของประเทศได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น.










วันเสาร์ที่ 27 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2564

นายอำเภอศรีสงคราม นำพระแก้วมรกต ถวายที่วัดป่าอุดมธรรมาราม-วัดป่าอัมพวัน เนื่องในวันมาฆบูชา

นายอำเภอศรีสงคราม   นำพระแก้วมรกต  ถวายที่วัดป่าอุดมธรรมาราม-วัดป่าอัมพวัน เนื่องในวันมาฆบูชา

นครพนม :  เมื่อวันที่ 26 กุมภาพันธ์ 64   ผู้สื่อข่าวรายงานว่า   นายปรัชญา เสริฐลือชา นายอำเภอศรีสงคราม เป็นประธานนำพระแก้วมรกตขนาดหน้าตักกว้าง 1 เมตร ยอดบริจาคได้ 9,090 บาท ถวายที่วัดป่าอุดมธรรมาราม บ้านแค ตำบลสามผง อำเภอศรีสงคราม จากนั้นเวลา 11.29 น. นำพระแก้วมรกตขนาดหน้าตักกว้าง 1 เมตร ยอดบริจาคได้ 9,190 บาท ถวายที่วัดป่าอัมพวัน บ้านนาน้อย ตำบลเหล่าพัฒนา อำเภอนาหว้า โดยมีนางจินดารัตน์ เสริฐลือชา กรรมการแม่บ้านมหาดไทยจังหวัดนครพนมและประธานกาชาดอำเภอศรีสงคราม พร้อมด้วยสมาชิกกาชาดอำเภอศรีสงคราม พุทธศาสนิกชน ร่วมงานถวายพระแก้วมรกต เนื่องในวันมาฆบูชาเป็นจำนวนมาก









ภาพข่าวศูนย์ประชาสัมพันธ์กองทัพภาคที่ 3 นกพิราบศูนย์ข่าว พิจิตร 0831671688 รายงาน  https://www.facebook.com/KaoTuaThai


“เฉลิมชัย”เร่งพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจภาคใต้ หวังปั้น”นครศรีธรรมราช”เป็นฮับอุตสาหกรรมยางแห่งอาเซียนคู่”รับเบอร์ ซิตี้”สงขลา “กยท.”ยืนยันผลศึกษา”รับเบอร์วัลเลย์โปรเจค”ถึงมือบอร์ดการยางฯ.สิงหาคมนี้

“เฉลิมชัย”เร่งพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจภาคใต้ หวังปั้น”นครศรีธรรมราช”เป็นฮับอุตสาหกรรมยางแห่งอาเซียนคู่”รับเบอร์ ซิตี้”สงขลา “กยท.”ยืนยันผลศึกษา”รับเบอร์วัลเลย์โปรเจค”ถึงมือบอร์ดการยางฯ.สิงหาคมนี้

 “อลงกรณ์”เดินสายตรวจตลาดกลางยางพาราแนะเพิ่มเทคโนโลยีบล็อคเชนในระบบประมูล ดึงAICวิจัยพัฒนานวัตกรรมแปรรูปสร้างผลิตภัณฑ์ยางใหม่ๆพร้อมอัพเกรดประสิทธิภาพการผลิตยางครบวงจรมุ่งลดต้นทุนเพิ่มมูลค่า ชื่นชมผลดำเนินงานสหกรณ์นิคมทุ่งสงพร้อมหนุนโครงการผลิตยางเครป ชาวสวนยางพอใจโครงการประกันรายได้ระยะ2โอนเงินถึงมือแล้วกว่า99% 

   นายอลงกรณ์ในฐานะประธานคณะกรรมการติดตามและเสนอมาตรการแก้ไขปัญหาราคายางและรักษาเสถียรภาพราคายาง เปิดเผยวันนี้(27ก.พ.)ภายหลังการตรวจเยี่ยมตลาดกลางยางพาราจังหวัดนครศรีธรรมราชของการยางแห่งประเทศไทยและสหกรณ์นิคมทุ่งสงว่า ภายใต้ยุทธศาสตร์การพัฒนายางไทย ดร.เฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์มีนโยบายเร่งรัดการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจภาคใต้(Southern Economic Corridor)โดยเฉพาะการพัฒนา”นครศรีธรรมราช”และกลุ่มจังหวัดภาคใต้ตอนกลางประกอบด้วยจังหวัดนครศรีธรรมราช สุราษฎร์ธานี สงขลาและพัทลุงเป็นฮับอุตสาหกรรมยางแห่งอาเซียนคู่กับการพัฒนา”รับเบอร์ ซิตี้เมืองยางสงขลา”โดย “กยท.”ยืนยันล่าสุดว่าผลการศึกษาโครงการรับเบอร์วัลเลย์นครศรีธรรมราชจะถึงมือบอร์ดการยางฯ.ภายในสิงหาคมนี้

  นายอลงกรณ์กล่าวว่าโครงการรับเบอร์วัลเลย์(Rubber Valley)เป็นรูปแบบนิคมอุตสาหกรรมยางพาราแบบครบวงจรโดยใช้พื้นที่ของ กยท. 41,000 ไร่ ในต.กรุงหยัน อ.ทุ่งใหญ่ จ.นครศรีธรรมราชเป็นการยกระดับศักยภาพอุตสาหกรรมยางไทยควบคู่กับการพัฒนารับเบอร์ซีตี้หรือเมืองยางที่สงขลาโดยวิสัยทัศน์ใหม่มุ่งส่งเสริมการผลิตและส่งออกผลิตภัณฑ์ยางเพื่อเพิ่มมูลค่าและรายได้ตลอดห่วงโซ่อุปทานแทนการส่งออกในรูปวัตถุดิบจะทำให้ชาวสวนยางและสถาบันยางรวมทั้งผู้ประกอบการและประเทศมีรายได้เพิ่มขึ้นอย่างยั่งยืน โดยครอบคลุมทุกกลุ่มอุตสาหกรรมยางพาราและผลิตภัณฑ์ไม้ยางทั้งหมด โดยเฉพาะถุงมือยางซึ่งกำลังมีความต้องการเพิ่มขึ้นเพราะผลกระทบโควิด19 รวมถึง Tires, middle weight tires, rubber products, latices, rubber tubes and rubber tapes, rubber shoes, carbon black, reclaimed rubber, rubber machinery, rubber materials ฯลฯ ทั้งนี้ศูนย์เทคโนโลยีเกษตรและนวัตกรรมหรือศูนย์AIC(Agritech and Innovation Center)และศูนย์ความเป็นเลิศด้านยางพารา(Center of Excellence)จะสนับสนุนการวิจัยพัฒนาและถ่ายทอดนวัตกรรมและเทคโนโลยีการแปรรูปสร้างผลิตภัณฑ์ยางใหม่ๆรวมทั้งอัพเกรดประสิทธิภาพการผลิตยางตั้งแต่ต้นน้ำถึงปลายน้ำเพื่อลดต้นทุนเพิ่มมูลค่าเพิ่มศักยภาพและขีดความสามารถในการแข่งขัน

       “เราต้องปรับเกมเล่นใหม่ให้สมฐานะการเป็นประเทศผู้ส่งออกยางพาราอันดับ1ของโลก ต้องกล้าคิดกล้าทำพร้อมเป็นผู้นำของโลกโดยใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมเป็นธงนำ ทั้งนี้เราจะร่วมมือกับประเทศจีนในฐานะประเทศผู้ซื้อยางพารารายใหญ่ของไทยและของโลกอย่างใกล้ชิด โดยเฉพาะโครงการ”หุบเขาแห่งอุตสาหกรรมยางพารา (Rubber Valley)” หรือ “ฐานการผลิตอุตสาหกรรมยางพาราของโลก (Platform of Rubber Valley)” ก่อตั้งเมื่อปี 2555 ซึ่งตั้งอยู่บนพื้นที่กว่า 1,200 ไร่ ในตำบลซือไป (Shibei) เมืองชิงเต่า (Qingdao) มณฑลซานตงเป็นโมเดลนิคมอุตสาหกรรมยางใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่งของโลก

นายอลงกรณ์ พลบุตร ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ พร้อมด้วยนายทินกร อ่อนประทุม นายณฐกร สุวรรณธาดา คณะที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ นายอุดมเกียรติ เกิดสม เกษตรและสหกรณ์จังหวัดนครศรีธรรมราช ยังได้เยี่ยมชมการดำเนินงานของตลาดกลางยางพารานครศรีธรรมราชและประชุมร่วมกับกยท. ผู้นำชาวสวนยางและตัวแทนสถาบันเกษตรกรโดยแนะนำให้เพิ่มเทคโนโลยีบล็อคเชน(Block Chain Technology)เพื่อเพิ่มความโปร่งใสในระบบประมูลยางของกยท. รวมทั้งชมเชยสหกรณ์นิคมทุ่งสงที่ประสบผลสำเร็จในการบริหารงานจนสามารถแบ่งปันผลกำไรให้สมาชิกรวมทั้งเห็นด้วยกับโครงการผลิตยางเครปของกยท.และสหกรณ์ชาวสวนยาง สำหรับความคืบหน้าโครงการประกันรายได้เกษตรกรชาวสวนยางระยะ2 ของจังหวัดนครศรีธรรมราชสามารถโอนเงินถึงมือชาวสวนยางโดยตรงแล้วกว่า99%โดยตัวแทนเกษตรกรชาวสวนยางได้แสดงความพอใจในการทำงานที่รวดเร็วซึ่งนายอลงกรณ์ได้กล่าวชมเชยเจ้าหน้าที่กยท.และธกส.ที่ทำให้นโยบายประกันรายได้ทำได้จริงทำได้ไวเป็นประโยชน์แก่เกษตรกรชาวสวนยาง







ประเพณีนมัสการและสรงน้ำพระธาตุดอยตุง ประจำปี 2564 ครบรอบ "2003 ปีสืบมา หกเป็งล่องฟ้า ไหว้สาพระธาตุดอยตุง"

ประเพณีนมัสการและสรงน้ำพระธาตุดอยตุง ประจำปี 2564 ครบรอบ "2003 ปีสืบมา หกเป็งล่องฟ้า ไหว้สาพระธาตุดอยตุง" 

     เมื่อวันศุกร์ที่ 26 กุมภาพันธ์ 2564 พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวฯ และสมเด็จพระนางเจ้าสุทิดาฯ พระบรมราชินี และสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี โปรดเกล้าฯ พระราชทานน้ำสรงพระธาตุดอยตุง และผ้าไตรพระราชทาน ในโอกาสถวายสักการะครบรอบ "2003 ปี สืบมา หกเป็งล่องฟ้า ไหว้สาพระธาตุดอยตุง" เนื่องในประเพณีนมัสการและสรงน้ำพระธาตุดอยตุง ประจำปี พ.ศ.2564

     โดยนายประจญ ปรัชญ์สกุล ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงราย เป็นประธานนำข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ สภาวัฒนธรรมจังหวัดเชียงราย พุทธสมาคมจังหวัดเชียงราย ผู้บริหารสถานศึกษาและนักเรียนนักศึกษา และพุทธศาสนิกชนชาวจังหวัดเชียงรายทั้ง 18 อำเภอ ตลอดทั้งกลุ่มชาติพันธุ์ เข้าร่วมพิธีอย่างคับคั่ง เพื่อประกอบพิธีบวงสรวงพระธาตุดอยตุง บูชาด้วยการเดินขบวนแห่รัตนสัตตนัง ซึ่งประกอบด้วยขบวนอัญเชิญน้ำสรงและผ้าไตรพระราชทาน ขบวนเครื่องสักการะหลวง 9 อย่าง ได้แก่ 1.ผ้าห่มพระธาตุ 2.ภัตตาหารเจ 3.ตุงใจ 4.ช้าคู่ 5.พัดจามร 6.สุ่มหมาก 7.สุ่มปู 8.ต้นผึ้ง 9.น้ำทิพย์ศักดิ์สิทธิ์ เคลื่อนขบวนสู่ลานพระธาตุดอยตุง 

     จากนั้น นายประจญ ปรัชญ์สกุล ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงราย ได้เริ่มประกอบพิธีการ จุดธูปเทียนบูชาพระรัตนตรัย ก่อนจะประกอบพิธีถวายเครื่องราชสักการะ โดยมี พระพุทธิวงศ์วิวัฒน์ เจ้าอาวาสวัดพระธาตุดอยตุง นำพุทธศาสนิกชนกล่าวคำไหว้องค์พระบรมธาตุดอยตุง และสรงน้ำสรงพระราชทาน พระสงฆ์เจริญชัยมงคลคาถา ลั่นฆ้องชัย 9 ครั้ง ต่อด้วยพิธีถวายผ้าไตรพระราชทานแด่พระสงฆ์ โดยมี พระรัตนมุนี ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.เจ้าคณะจังหวัดเชียงราย กล่าวสัมโมทนียกถา และให้พรแก่ผู้เข้าร่วมพิธี พร้อมสดับรับพรโดยทั่วกัน ก่อนจะเริ่มการห่มผ้าพระธาตุดอยตุง และปิดท้ายด้วยการแสดงศิลปวัฒนธรรมล้านนา สร้างความประทับใจ ความตื่นตาอลังการและความเป็นสิริมงคลให้แก่ผู้เข้าร่วมงานโดยถ้วนทั่วเป็นอย่างยิ่ง 

     วัดพระมหาชินธาตุเจ้าดอยตุง ปรากฎเป็นชื่อตามจารึกหินอ่อนที่กรอบประตูพระอุโบสถ คำเมือง: LN-Wat Phra That Doi Tung.png) หรือเรียกโดยทั่วไปว่า วัดพระธาตุดอยตุง ตั้งอยู่บริเวณส่วนที่เรียกว่าหน้าอกของดอยนางนอน ตำบลห้วยไคร้ อำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย ซึ่งเป็นถิ่นที่อยู่ของชาวไทยภูเขา ซึ่งดอยตุงมีระยะทางห่างจากอำเภอเมืองเชียงรายประมาณ 46 กิโลเมตร และมีพระธาตุดอยตุงประดิษฐานอยู่บนยอดดอย สามารถมองเห็นได้ในระยะไกล เนื่องจากพระธาตุดอยตุงตั้งอยู่สูงกว่าระดับน้ำทะเลประมาณสองพันเมตร

     “วัดพระธาตุดอยตุง ” อำเภอแม่จัน เป็นสถานที่ประดิษฐานพระเจดีย์บรรจุพระบรมสารีริกธาตุส่วนพระรากขวัญเบื้องซ้าย หรือกระดูกไหปลาร้าซึ่งนำมาจากประเทศอินเดีย ดังมีตำนานกล่าวไว้ว่า เมื่อ 1,000 กว่าปีล่วงมาแล้ว ประมาณ พ.ศ. 1454 พระมหากัสสปะเถระพร้อมด้วยพระเข้าอชุตราช กษัตริย์ผู้ครองเมืองโยนกนาคพันธ์ ร่วมกับข้าราชบริพารได้อัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุสถิตไว้ ณ ดอยแห่งนี้ และได้ปักตุงหรือธงบูชาพระบรมสารีริกธาตุ เป็นตุงตะขาบมีความยาวถึงพันวาปักไว้บนยอดดอยปล่อยชายตุงปลิวสะบัดถึงที่ใดให้หมายเป็นเขตศักดิ์สิทธิ์ดอยนี้จึงได้ชื่อว่าดอยตุงมาจนถึงปัจจุบันนี้ พระธาตุดอยตุงเป็นปฐมเจดีย์แห่งล้านนา ตุง คือศรีเมือง ขวัญเมือง และเป็นเอกลักษณ์ของล้านนา สถิตคู่พระธาตุอันศักดิ์สิทธิ์ตลอดมา ต่อมาในปี พ.ศ. 2470 ครูบาเจ้าศรีวิชัยได้บูรณะองค์พระธาตุขึ้นใหม่ ตามศิลปะแบบล้านนาดั้งเดิมและได้สร้างพระธาตุองค์ใหม่ครอบองค์เดิมไว้

     ประวัติความเป็นมาของวัดพระธาตุดอยตุง วัดพระมหาชินธาตุเจ้า (ดอยตุง) หรือเรียกโดยทั่วไปว่า วัดพระธาตุดอยตุง ตั้งอยู่บริเวณส่วนที่เรียกว่าหน้าอกของดอยนางนอน ตำบลห้วยไคร้ อำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย ซึ่งเป็นถิ่นที่อยู่ของชาวเขา ซึ่งดอยตุงมีระยะทางจากอำเภอเมืองเชียงรายประมาณ 46 กม. และมีพระธาตุดอยตุงประดิษฐานอยู่บนยอดดอย มองเห็นได้ในระยะไกล เนื่องจากพระธาตุดอยตุงตั้งอยู่สูงกว่าระดับน้ำทะเลประมาณสองพันเมตร

     ตามตำนานเล่าว่า พระธาตุดอยตุงสร้างขึ้นในสมัยพระเจ้าอชุตราช กษัตริย์ผู้ครองนครโยนกพันธุ์ (ปัจจุบันคืออำเภอแม่จัน) พระมหากัสสปะได้อัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุส่วนพระรากขวัญเบื้องซ้าย (กระดูกไหปลาร้า) แล้วมอบให้แก่ พระเจ้าอชุตราช ได้สร้างเจดีย์บรรจุพระบรมสารีริกธาตุนั้นไว้บนดอยแห่งนี้ ดังที่พระพุทธเจ้าทรงพยากรณ์ไว้ แล้วจึงได้ให้ทำตุง (ธง) มีความยาว 1,000 วา ปักไว้บนยอดเขา หากตุงปลิวไปถึงที่ใด ก็กำหนดให้เป็นฐานของพระเจดีย์ ทั้งนี้พระองค์ได้พระราชทานทองคำให้พวกลาวจกเป็นค่าที่ดิน และให้พวกปีลักยู 500 ครอบครัว ดูแลรักษาพระธาตุ ต่อมาในสมัยพญามังรายแห่งราชวงศ์มังราย พระมหาวชิรโพธฺเถระได้นำพระบรมสารีริกธาตุมาถวาย 50 องค์ พญามังรายจึงให้สร้างพระเจดีย์อีกองค์ใกล้กับเจดีย์องค์เดิม นับจากนั้นเป็นต้นมา พระธาตุดอยตุงจึงได้มีเจดีย์สององค์มาจนถึงทุกวันนี้

       รูปแบบสถาปัตยกรรม พระธาตุดอยตุงแต่เดิมมีองค์เดียว รูปแบบกสนก่อเป็นศิลปะเชียงแสนย่อมุมไม้สืบสอง คล้ายกับพระธาตุดอยสุเทพ เมืองเชียงรายสมัยก่อนเป็นเมืองร้างอยู่หลายครา พระธาตุดอยตุงจึงขาดการบูรณะปฏิสังขรณ์ ตัวพระธาตุทรุดโทรมและพังทลายลงนับตั้งแต่พญามังรายได้สร้างเจดีน์อีกองค์ใกล้กัน อีกองค์หนี่งจึงทำให้พระธาตุดอยตุงมีสององค์ ปัจจุบันพระธาตุเป็นสีกองขนาดเล็กสององค์สูงประมาณ 5 เมตร บนฐานสี่เหลี่ยมย่อมุม มีซุ้มจระนำสี่ทิศ อยู่บนดอยสูงแวดล้อมด้วยป่ารกคลื้ม เรียกว่า สวนเทพารักษ์ เชื่อกันว่าเป็นที่สถิตของเทพารักษ์และสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ต่อมาเมื่อปี พ.ศ. 2470 องค์พระธาตุทรุดโทรมมาก ครูบาเจ้าศรีวิชัย กับประชาชนเมื่องเชียงรายได้บูรณะขึ้นใหม่ โดยสร้างเป็นเจดีย์องค์ระฆังขนาดเล็กสององค์บนฐานแปดเหลื่ยม ตามศิลปะแบบล้านนา การบูรณะครั้งหลังสุด มีขั้นเมื่อปี พ.ศ. 2516 โดยกระทรวงมหาดไทย ได้สร้างพระธาตุองค์ใหม่ขึ้นครอบพระเจดีย์เดิมไว้












แหล่งข่าวจาก – สำนักงานประชาสัมพันธ์จังหวัดเชียงราย

บก.เจี๊ยบแม่สายนิวส์ออนไลน์  ////////  รายงาน  //////////

เลขาธิการกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในภาค 3 ติดตามการป้องกันและแก้ไขปัญหาไฟป่าหมอกควัน ฝุ่นละออง (PM 2.5) ปี 2568 ในพื้นที่ของกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในจังหวัดสุโขทัย

เลขาธิการกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในภาค 3 ติดตามการป้องกันและแก้ไขปัญหาไฟป่าหมอกควัน ฝุ่นละออง (PM 2.5) ปี 2568 ในพื้นที่ของกองอำนวยการร...